การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการลดปริมาณการใช้พลังงานโดยการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องเชื่อมในอุตสาหกรรม


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2021

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2022


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการวิจัยนี้จะเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของกระบวนการเชื่อมอุตสาหกรรม โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเดิมแต่อย่างใด ภายใต้การดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานและสอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น AWS หรือ ASME ซึ่งจะต้องมีข้อกำหนดขั้นตอนกระบวนการเชื่อม (Welding Procedure Specification: WPS) อย่างชัดเจนและสอดคล้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า การประเมินประสิทธิภาพทางไฟฟ้าของ เครื่องเชื่อมที่ใช้ในกระบวนการผลิตจึงถูกนำมาพิจารณา เครื่องเชื่อมประเภทหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องเชื่อมยุคเก่า มีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าด้อยกว่าเครื่องเชื่อมประเภทอินเวอร์เตอร์อย่างมาก การศึกษาเบื้องต้นของ   ศูนย์เทคโนโลยีซ่อมบำรุงรักษา มจธ. ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบเครื่องเชื่อมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ได้ข้อมูลว่า หากปรับเปลี่ยนเครื่องเชื่อมใหม่จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ราว 60% และหากเปลี่ยนเครื่องเชื่อมเป็นแบบอินเวอร์เตอร์ ต้นทุนที่ลดได้จากการประหยัดพลังงานจะช่วยให้คืนทุนได้ภายใน 5 – 6 เดือน ลดความต้องการไฟฟ้าได้ราว 355.22 MW หรือประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงไฟฟ้าได้ราว 8.880 พันล้านบาท

ผลการวิจัย จะช่วยส่งเสริมให้เกิดแนวทางการลดต้นทุนทางด้านพลังงานไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ ยังอาจใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเกณฑ์การสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานสำหรับกระบวนการเชื่อมอุตสาหกรรมได้อีกด้วย


คำสำคัญ

  • Cost Reduction
  • Energy Conservation Regulatory
  • Energy Consumption
  • Industrial Welding Processes


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-07-02 ถึง 13:59