โครงการภาคีความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/08/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ31/07/2023


คำอธิบายโดยย่อ

รัฐบาลไทยได้ประกาศเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality, CN) ภายในปี ค.ศ. 2050 ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ดังนั้นแผนการเปลี่ยนผ่านพลังงานแห่งชาติซึ่งคาดว่าจะประกาศใข้ในปี ค.ศ. 2022 จะมีความเข้มข้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากกว่าแผนต่างๆที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่น รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และแหล่งทรัพยากรแบบกระจายมากขึ้นฯลฯ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าครั้งใหญ่ (Power System Transformation) นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy, BCG) เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นเสาหลักในการบรรลุเป้าหมาย CN ด้วย

การที่ระบบพลังงานและระบบเศรษฐกิจจะสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบคาร์บอนต่ำจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย CN ได้ ภายในระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัดนั้น ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของภาคส่วนหรือกิจการของตนเองให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมาย CN ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของภาครัฐ ธุรกิจ อุตสาหกรรม ขุมชน หรือองค์กรเอกชน การที่หน่วยงาน/องค์กรเหล่านี้จะดำเนินพันธกิจดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วลได้นั้น จะต้องมีขีดความสามารถเฉพาะที่เหมาะสม ซึ่งหนทางหนึ่งที่สำคัญและเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จก็คือ การมีกำลังคนระดับสูงที่มีทักษะที่เหมาะสม  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับแนวปฎิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ของยุคสมัย และมีความรอบรู้ แก้ปัญหาที่เป็นเชิงระบบได้ ไม่ว่าจะได้มาด้วยการผ่านการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง หรือด้วยการผ่านการฝึกทักษะใหม่ (Reskilling) หรือเพิ่มพูนทักษะเดิมให้สูงขึ้น (Upskilling)

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนากำลังคนระดับสูงในสาขาที่มีลำดับความสำคัญสูง (Priority Sectors) 6 สาขา ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมาย CN ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้า (Power System Transformation) ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) (อาคาร อุดสาหกรรม และการขนส่ง) พลังงานชีวภาพที่ยั่งยืน (Sustainable Bioenergy) เศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน (Circular Economy and Sustanability) คุณภาพอากาศและการลดปัญหาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Air Quality and Climate Change Mitigation & Adaptation) และนโยบายและการจัดการการเปลี่ยนผ่าน  (Transition Policy and Management) โดยการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ตั้งอยู่บนฐานของภาคีความร่วมมือรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะบัณฑิตวิทยาลัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) เดิมและที่พัฒนาเพิ่มเติม ซึ่งกิจกรรมของโครงการนี้คือ การยกระดับทักษะ/พัฒนาทักษะใหม่ (Upskilling/Reskilling) เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว (Working Professionals) ในสายงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่ CN แต่ต้องเพิ่มพูนความรู้และยกระดับทักษะ (Upskilling) เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลมากขึ้น และเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานที่จะย้ายสายงานหรือเข้าสู่อาชีพใหม่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่ CN ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะใหม่ (Reskilling) กิจกรรมที่จะดำเนินการจะอยู่ในรูปแบบของหลักสูตรระยะสั้น เช่น "Summer School" หรือ Short-course Training ในหัวข้อที่เป็นความต้องการโดยทั่วไปของหลายองค์กร และจัดเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น โดยเฉพาะสำหรับแต่ละองค์กร (Tailor-made) ซึ่งแต่ละหลักสูตรต้องออกแบบ โดยปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้ อาจต้องมีสถาบัน/ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศร่วมด้วยในการออกแบบหลักสูตรและช่วยสอน/ผึกอบรม  นอกจากนี้ หลักสูตรระยะสั้นบางหลักสูตรอาจอนุญาตให้ผู้เรียนเก็บสะสมเป็นเครดิตไว้เป็นส่วนหนึ่งวิชาเรียนเพื่อรับปริญญา (Credit Banking) ก็ได้


คำสำคัญ

  • ความเป็นกลางทางคาร์บอน ระบบพลังงานที่ยั่งยืน เศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน และสีเขียว Carbon Neutral; Sustainable Energy System; Bio-Circular-Green Economy


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49