การวิเคราะห์พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของไอออนพลังงานสูงเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอุปกรณ์ตรวจวัดไอออนในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมค-1
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 17/02/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 16/02/2023
คำอธิบายโดยย่อ
ระยะแรกของโครงการการควบคุมพลาสมาโดยเครื่องไทยแลนด์โทคาแมค-1 เป็นการทดลองควบคุมพลาสมาไฮโดรเจน โดยการให้ความร้อนด้วยคลื่นอิเล็กตรอนแบบโซโคลตรอน (ECRH) และหลังจากนั้นจะมีการเพิ่มระบบการให้ความร้อนจากภายนอก โดยใช้ระบบความร้อนแบบ Neutral beam injection (NBI) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทดลองพลาสมาในอนาคต ดังนั้นการศึกษาและวิเคราะห์วงโคจรไอออนพลังงานสูงในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมคระหว่างการใช้ระบบความร้อนแบบ NBI จึงมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทดลองพลาสมา และการระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ในการติดตั้งระบบความร้อนแบบ NBI ในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมคในอนาคต โดยในงานวิจัยนี้จะศึกษาลักษณะของไอออนพลังงานสูง (passing, trapping and loss ion) เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอุปกรณ์ตรวจวัดไอออนในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมค-1 รวมขึ้นการระบุตำแหน่งที่ออก โดยในวิเคราะห์วงโคจรไอออนพลังงานสูงจะการศึกษาด้วยโค้ด Collision less Lorentz orbit code LORBIT ซึ่งสามารถรันได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และการวิเคราะห์วงโคจรไอออนพลังงานสูงในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมค-1 นั้นจะถูกศึกษาปัจจัยของ ตำแหน่งตั้งต้นของอนุภาค (Start position), ทิศทางของความเร็วเทียบกับสนามแม่เหล็ก (Pitch angle), ลักษณะของสนามแม่เหล็ก, รัศมีลาร์มอร์ (Larmor radius) และ กระแสพลาสมา (Plasma current) สำหรับการกำหนดค่าพลาสมาที่แตกต่างกันในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมค-1 ผลที่ได้จากการงานวิจัยนี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทดลองพลาสมา สร้างเข้าใจลักษณะวงโคจรไอออนพลังงานสูงสำหรับเครื่องโทคาแมคนี้ และยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบอุปกรณ์ตรวจวัดไอออนในเครื่องไทยแลนด์โทคาแมค-1 อีกทั้งสามารถต่อยอดในการวิเคราะห์พลศาสตร์ของอนุภาคลำไอออนหรือลำอนุภาคเชื้อเพลิงสำหรับการให้ความร้อนโดยวิธี Neutral beam injection (NBI) อีกด้วย
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง