ปฏิสัมพันธ์ของอัตลักษณ์ตัวตน กับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนวัยทำงาน กรณีศึกษาเปรียบเทียบช่องว่างในการเรียนรู้เพื่อการทำงานในกลุ่มการเรียนในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

งานวิจัยนี้ตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักทฤษฎีเรื่อง การเรียนรู้ของผู้เรียนวัยทำงานหรือผู้ใหญ่ (adult learning or andragogy) การจัดการศึกษาให้แก่ผู้ใหญ่มีความหลากหลายอย่างมาก หากวางแผนออกแบบด้วยความเข้าใจ หลักทฤษฎีย่อมช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ตามทิศทางที่คาดหวัง จาก Factsheet Nos. 11 ของ Teaching Excellence in Adult Literacy, ได้ทบทวนหลักทฤษฎีการศึกษาของผู้ใหญ่ 3 แนวทาง คือ

1. Andragogy (Malcolm Knowles, 1980) หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในผู้ใหญ่

2. Self-directed learning หมายถึง การวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งงานวิจัยในช่วงปี 1970 สำรวจพบว่า 90% ของผู้ใหญ่วัยทำงานมีการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง ในช่วงเริ่มศตวรรษที่ 21 มานี้ เมื่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ของคนทุกเพศทุกวัยเป็นเรื่องปกติ อาจจะกล่าวได้ว่า คนส่วนใหญ่เรียนรู้สิ่งใหม่เกือบทุกสัปดาห์ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และ

3. Transformative learning หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับตนเองและมุมมองโลกรอบตัว

แนวทางนี้เป็นการศึกษาที่นับว่าเป็นแนวทางขั้นสูงในการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะในยุคที่การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันเกิดขึ้นในทุกพื้นที่งาน เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องช่วยให้ผู้ใหญ่ปรับตัว ปรับมุมมองได้ นักการศึกษาต่างพยายามผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ที่ช่วยปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการมองโลกของผู้ใหญ่ โดยให้หลักไว้ว่า

  • สร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางความคิด
  • เข้าใจธรรมชาติผู้เรียนแต่ละคนว่าชอบกิจกรรมแบบใด
  • ออกแบบกิจกรรมที่มีพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด

ศูนย์กลางแนวคิดของการเรียนรู้ในผู้ใหญ่ คือ ตัวตน อัตลักษณ์ ที่มีอยู่เบื้องหลังปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้และผู้เรียน การนำตัวตนของผู้เรียนไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ฝึกทักษะในลักษณะของการประยุกต์ความรู้ทักษะนั้นในชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้ในสภาพจริง ใกล้เคียงสภาพจริง Situated learning.  Stein D. (1998) กล่าวถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับ “ตัวตน” ของผู้เรียน โดยใช้คำว่า Situated cognition theory ซึ่งมองการเรียนรู้ว่า เป็นปรากฏการณ์เชิงสังคมวัฒนธรรม มากกว่าที่จะเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น หรือรู้อะไรมากขึ้นจากการย่อยทักษะความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ ปฏิสัมพันธ์ลักษณะนี้ในระดับพื้นฐานเรียกได้ว่า เป็นการเรียนรู้เช่นกันแต่ยังไม่ใกล้เคียงกับ transformative learning เพราะขาดตัวตนผู้เรียนที่เป็นปัจจัยสำคัญในสถานการณ์การเรียนรู้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-27-12 ถึง 12:02