การจัดการใช้ประโยชน์พื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อการเพิ่มผลผลิตและรายได้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน “เกษตรพึ่งตน ฅนอินทรีย์ บ้านหินแร่” ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

หมู่บ้านหินแร่ ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่ารอยต่อภาคตะวันออกของประเทศไทย คนในชุมชนประกอบอาชีพการทำนาปีเป็นหลัก การปลูกข้าวมีทั้งแบบนาดำและนาหว่านแบบเคมี ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนแหล่งน้ำในการปลูกข้าวในหน้าแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวต่ำ และรายได้ไม่เพียงพอ ทำให้สมาชิกในครอบครัววัยแรงงานต้องออกไปรับจ้างและทำงานนอกพื้นที่เพื่อหารายได้เข้ามาในครอบครัว ทำให้ขาดแรงงานในการทำนาของครอบครัว แนวทางการแก้ไขปัญหาประการหนึ่งคือการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรเพื่อเพิ่มผลลิตข้าว มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนาดำและนาหว่านเป็นนาโยน  แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนักเนื่องจาก เกษตรกรยังคงเชื่อว่าการทำนาโดยเฉพาะนาดำให้ผลผลิตข้าวดีที่สุด

          การปลูกข้าวนาปีของชุมชนหมู่บ้านหินแร่ ส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวนาหว่าน โดยบางครอบครัวที่มีแรงงานเพียงพอจะมีการปลูกข้าวแบบนาดำ จะเริ่มปลูกข้าวเมื่อมีฝนตกและน้ำขังในแปลงนาซึ่งอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม และจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวประมาณกลางเถึงปลายเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจะปล่อยแปลงนาทิ้งไว้ หลังจากนั้นจะดำเนินการเตรียมดินอีกครั้งในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมของปีถัดไปเพื่อเริ่มฤดูการปลูกข้าวอีกครั้งหนึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินในแปลงนาหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่และปัญหาการขาดน้ำ อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรบางคนในพื้นที่ได้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ปลูกข้าวซึ่งใกล้บ้านในการปลูกพืชอื่นเสริม ได้แก่ ถั่วเขียว ทำให้มีรายได้นอกเหนือจากการทำนา เป็นที่น่าสนใจว่าทำไมเกษตรกรบางคนสามารถปลูกข้าวนาอินทรีย์สลับกับพืชอื่นได้ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำในช่วงฤดูแล้ง อีกทั้งข้อมูลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นาข้าวของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่ได้มีการศึกษา กระบวนการกลุ่มไม่เข้มแข็ง งานวิจัยจึงสนใจศึกษาการจัดการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนแบบอินทรีย์ตลอดทั้งปีให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีเป้าหมายในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาน้ำฝน (นาปี) ทั้งจากการปลูกข้าวและการปลูกพืชอื่น ในขณะเดียวกันยังคงช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย (1) การถอดบทเรียนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนของเกษตรกร หมู่บ้านหินแร่ และการจัดการกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม  การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม  ข้อมูลที่ได้ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิในด้านความเหมาะสมของพืชตามลักษณะพื้นที่ จะถูกนำมาใช้ในการออกแบบแปลงทดสอบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนตลอดทั้งปี (2) การทดสอบปลูกจริงโดยอาศัยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การร่วมติดตามและประเมินผลการทดสอบทั้งในด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน การเกิดโรคและแมลง ผลผลิตข้าว ผลผลิตพืชที่ปลูกเสริม ต้นทุนการผลิต และด้านการจัดการผลผลิตข้าว และ (3) การถอดบทเรียนเพื่อหารูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ในการปลูกข้าวและการปลูกพืชเสริมที่เหมาะสมทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ รูปแบบหรือวิธีการจัดการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปลูกข้าวนาอินทรีย์ตลอดทั้งปีที่มีความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ (ลดการนำเข้าของทรัพยากรจากภายนอกและรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น) สิ่งแวดล้อม (ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี) และสังคม(สุขภาพ ความเข้มแข็งกลุ่มของเกษตรกร)


คำสำคัญ

  • กระบวนการเรียนรู้/ การทำนาน้ำฝน/ การปลูกพืชหลังนา/ การจัดการพื้นที่/ การเพิ่มรายได้


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05