สังคมสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าแล้งผลัดใบ: การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อาศัยจากอดีตสู่ปัจจุบันและผลกระทบต่อสถานภาพประชากร


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ป่าแล้งผลัดใบในเขตร้อนได้รับการศึกษาและสรุปว่ามีลักษณะสังคมพืชเหมือนระบบนิเวศแบบสะวันนาที่พบในแอฟริกา ป่าแล้งผลัดใบที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่ามีหญ้าในกลุ่มพืช C4 ขึ้นเป็นพืชเด่นปกคลุมหน้าดิน ซึ่งพืชกลุ่มดังกล่าวพบว่ามีการปรากฎตั้งแต่ยุคสมัยไมโอซีน (9.3-6.5 ล้านปีก่อน) ก่อนที่จะมีมนุษย์ปรากฎซึ่งลบล้างทฤษฎีที่ว่าป่าแล้งผลัดใบนี้เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ระบบป่าแบบสะวันนาจะมีต้นไม้ขึ้นห่างอย่างกระจัดกระจายผสมกับทุ่งหญ้าซึ่งทำให้มีลักษณะคล้ายป่าเสื่อมโทรมและมีการใช้ทรัพยากรในป่าประเภทนี้จำนวนมากจึงทำให้ไม่มีการปกป้องคุ้มครองหรือหากมีคุ้มครองจะไม่มีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ต้นไม้ในป่าแล้งผลัดใบส่วนใหญ่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น ต้นสัก ต้นเต็ง ต้นรัง ต้นประดู่ จึงทำให้ป่าประเภทนี้มีพื้นที่ลดลงจากการสูญเสียต้นไม้เนื่องจากมีความต้องการสูง ผลจากการสูญเสียป่าประเภทนี้ทำให้ชนิดสัตว์ที่อาศัยเฉพาะในป่าแล้งผลัดใบได้รับผลกระทบและส่วนใหญ่มีสถานภาพถูกคุกคามในบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ถูกคุกคามของ IUCN เช่น ช้างป่า วัวแดง ควายป่า ละมั่ง รวมถึงนกหลายชนิด เช่น นกยูง พญาแร้ง นกหัวขวานใหญ่สีเทา เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าป่าแล้งผลัดใบแต่ละพื้นที่มีสังคมสัตว์ป่าที่แตกต่างกัน โดยบางชนิดจะสามารถพบได้โดยทั่วไปในหลายพื้นที่แต่กลับพบยากหรือไม่พบในบางพื้นที่ จึงไม่แน่ชัดว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมใดที่เป็นปัจจัยจำกัดที่สำคัญสำหรับการรอดชีวิตในระยะยาวของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศป่าประเภทนี้

    วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการเหลืออยู่ของป่าแล้งผลัดใบที่มีความเหมาะสมต่อการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญสำหรับวางแผนการจัดการป่าแล้งผลัดใบที่เหมาะสม ผลการศึกษาหลักจากงานวิจัยครั้งนี้จะได้ 1) ข้อมูลสถานภาพของป่าแล้งผลัดใบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยจำกัดในป่าแล้งผลัดใบที่จะส่งผลกระทบต่อการรอดชีวิตของสังคมสัตว์ป่าในป่าแล้งผลัดใบ 3) สถานภาพจำนวนประชากรของสัตว์ป่าในป่าแล้งผลัดใบที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน และ 4) อิทธิพลของปัจจัยคุกคามในป่าแล้งผลัดใบจากอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต


คำสำคัญ

  • Deforestation
  • Dry dipterocarp forest
  • Dry forest specialist
  • Mixed deciduous forest
  • Woodpeckers


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05