การพัฒนาและทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อแปรสภาพคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงจำลองภายใต้สภาวะวิกฤตยิ่งยวด
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
การสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนและสภาวะวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยได้มีการประเมินว่าการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 1.4 เท่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในรูปแบบต่างๆเช่นถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ในภาคขนส่ง และอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 องศาเซลเซียสหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจะถึงจุดวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถหวนกลับได้ภายในปี 2035 หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในระดับโลก การพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บและใช้ประโยชน์จากก๊าซ CO2 (CO2 Capture and Utilization) จึงเป็นแนวทางหลักที่ได้รับความสนใจจากวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก และจัดเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ท้าทายที่สุดของมนุษยชาติในปัจจุบัน ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี CCU โดยใช้กระบวนการต่างๆเช่นการใช้กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชหรือสาหร่าย การใช้เทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ในการออกแบบเซลล์จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยน CO2 เป็นสารเคมี หรือกระบวนการทางเคมีในการเปลี่ยน CO2 ให้อยู่ในรูปสารไฮโดรคาร์บอนโดยใช้ปฏิกิริยา Reverse Water-Gas-Shift (RWGS) หรือปฏิกิริยา Fischer-Tropsch (FTS) ซึ่งแต่ละกระบวนการยังคงมีข้อจำกัดในเชิงเทคนิคทั้งในเชิงประสิทธิภาพ พลังงาน และต้นทุน การค้นหาเทคโนโลยีทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการ CCU จึงมีความสำคัญอย่างมากและจัดเป็นงานวิจัยที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ในระดับก้าวหน้า (frontier research) อย่างแท้จริง ในโครงการวิจัยที่ทำเสนอนี้คณะวิจัยจะได้ทำการศึกษากระบวนการเปลี่ยนก๊าซ CO2 โดยปฏิกิริยา photocatalytic reduction และปฏิกิริยาเกี่ยวเนื่อง เป็นสารไฮโดรคาร์บอนโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง (photocatalyst) ภายใต้สภาวะที่คาร์บอนไดออกไซด์อในสถานะวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical CO2: ScCO2) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เทียบเคียงได้กับกระบวนการสังเคราะห์แสงโดยพืช (Bio-inspired process) และเป็นกระบวนการใหม่ที่ยังไม่เคยมีรายงานมาก่อน โดยทำการศึกษาต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ได้จากผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการซึ่งพบว่าการเกิดสารอินทรีย์ขนาดใหญ่ (C4+) จากก๊าซ CO2 โดยใช้กระบวนการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ในการเร่งปฏิกิริยาภายใต้สภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะวิกฤตยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้อง โดยในโครงการวิจัยนี้คณะวิจัยจะได้ทำการศึกษาเชิงลึกถึงแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของปฏิกิริยาที่เกิดขี้น โดยวิธีการต่างๆเข่น การออกแบบและปรับเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยา และการหาสภาวะของกระบวนการที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นทางเลือกในการตอบโจทย์การใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคตสำหรับประเทศไทย
คำสำคัญ
- การแปรสภาพคาร์บอนไดออกไซด์ การเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง คาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้สภาวะวิกฤตยิ่งยวด สารประกอบไฮโดรคาร์บอน , Carbon dioxide conversion; Photocatalysis; Supercritical CO2; Hydrocarbon
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง