The Research for Identifying Appropriate Environmental Characters of Communal Space in order to Develop as A Cultural, Social and Economic Community Center for Increasing Local Collaboration and Participation in Na Ngoi – Pon Pa Loh Community
Principal Investigator
Co-Investigators
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 01/10/2022
End date: 30/09/2023
Abstract
จากการทำงานวิจัยและบริการชุมชนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชนในพื้นที่นอกเขตเมืองพบว่าการทัศนคติของการใช้พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในชุมชนร่วมกันมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพื้นที่ ส่วนตัวภายในบ้าน พื้นที่สาธารณะที่หน่วยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ หรือพื้นที่ของหน่วยงานเอกชน อาทิ โรงเรียน วัด เป็นต้น ทั้งนี้เป็นที่รับรู้ได้อย่างชัดเจนถึงการลดลงของการใช้พื้นที่เพื่อการปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ลักษณะการพึงพาการใช้พื้นที่ที่สะท้อนคุณค่าทางสังคมมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากจำนวนที่น้อยลงและขนาดที่เล็กลงของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันทำงานบุณ งานประเพณีสำคัญของชุมชน หรือแม้กระทั้งการสันทนาการ กิจกรรมทุกรับรู้และแยกย่อยเกิดขึ้นในพื้นที่ขนาดเล็กลงและไม่รวมกลุ่ม ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชนน้อยลงตามไปด้วย ในขณะที่พื้นที่ส่วนตัว อาทิ ใต้ถุนบ้าน ลานหน้าบ้าน ได้รับการคาดหวังให้เป็นพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นสำคัญ และในบางชุมชนพื้นที่สำหรับกิจกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นมูลค่าได้ อาทิ การมีค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าเช่าพื้นที่ทำงาน เป็นต้น ซึ่งเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เกิดตามกลไกและเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่ผันผวนมากในปัจจุบัน ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไป และด้วยความที่กายภาพของพื้นที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนั้น ทำให้หลายพื้นที่ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดคุณค่าทางสังคมและไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขของการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนได้ ทั้งเนื่องมาจากกิจกรรมของประชาชนในชุมชนในทุกมิติมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงความต้องการด้านการใช้พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในชุมชนก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย อาทิ ลักษณะของวิถีชีวิตอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรสู้การเป็นผู้รับจ้าง ตารางเวลาการทำงานและการพักผ่อนที่เปลี่ยนแปลง ลักษณะของงานอดิเรกและอาชีพเสริม ลักษณะของงานบุญงานประเพณี ตลอดจนพฤติกรรมและความชอบเมื่อประชาชนมีอายุมากขึ้น ทัศนคติในการใช้ชีวิตและจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างมากขึ้นของประชาชนแต่ละวัย
การพิจารณาถึงคุณสมบัติของพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของชุมชนนั้นมีความสำคัญมาก และเป็นประเด็นที่นักพัฒนาชุมชนไม่ได้หยิบยกมาพิจารณามากนัก สภาพแวดล้อมในทางทฤษฎีนั้นมีผลเป็นอย่างมากในการเกิดขึ้นของพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ หากแต่ในความเป็นจริงพื้นที่นอกเขตเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้รับการพัฒนาหรือมีแนวทางในการพัฒนากายภาพของพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในชุมชนไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่สาธรณะ พื้นที่ขนาดเล็กหรือพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากสภาพแวดล้อมในเขตเมืองที่สภาพแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดหรือส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ อาทิ ตำแหน่งขอซุปเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่ที่อยู่นเขตเมืองและนอกเมือง สามารถสร้างพฤติกรรมและความถี่ในการซื้อของเข้าบ้าน อาทิ ซื้อน้อยและซื้อบ่อย หรือซื้อมากแต่นาน ๆซื้อครั้ง หรือบ้านจัดสรรที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางที่สวยงามและสะดวกสบายเพื่อส่งเสริมให้คนที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรมาพบปะและมีปฏิสัมพันธ์ที่พื้นที่นี้มากกว่าที่จะเชื้อเชิญให้เพื่อบ้านไปพบกันในบ้าน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาด้วยมุมมองนี้จะพบว่า การออกแบบสภาพแวดล้อมในลักษณะสามารถพบเห็นได้น้อยมากในพื้นที่ชุมชนนอกเขตเมือง ทั้งที่หากพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ชุมชนนอกเขตมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง และผันผวนไม่ต่างกับชุมชนในเขตเมือง ดังนั้นการพิจารณาประเด็นเรื่องคุณสมบัติที่สำคัญของสภาพแวดล้อมพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อการส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
จากการทำงานในพื้นที่บ้านนางอย โพนปาโหลอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มองเห็นและจับต้องได้ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างผลกระทบทางการใช้งานและจิตใจกับประชาชนในชุมชน ไม่น้อยไปกว่าการใช้กลไกทางสังคมศาสตร์ที่ประชาชนเพิกเฉยได้ง่าย และไม่อดทนรอเป็นเวลานานในเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ดังกล่าวก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของทัศนคติในการอยู่ร่วมกันในชุมชน ตลอดจนการสร้างความรู้สึกและความต้องการในการลงมือทำกิจกรรมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
ภายใต้งานวิจัยนี้ การศึกษาข้อมูลและการทำเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในมิติต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างมีระบบ โดยบูรณาการความรู้ด้านสังคมวิทยา ด้านการออกแบบ ด้านการพัฒนาชุมชน เพื่อให้สามารถระบุรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดคุณลักษณะของสภาพแวดล้อม ตลอดจนการใช้ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบทั้งในมิติสถาปัตยกรรมศาสตร์และมิติของการออกแบบโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการกำหนดคุณลักษณะของสภาพแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของชุมชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้กายภาพของพื้นที่ชุมชนมีบทบาทที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งยังสร้างแรงขับเคลื่อนกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนส่งเสริมคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจในอนาคต
Keywords
- การสร้างพื้นที่สำหรับทุกคนในชุมชน
- ปฏิสัมพันธ์ในชุมชน
- พื้นที่ส่วนกลางในชุมชน
- พื้นที่สาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจในชุมชน
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.