Influence of micro-plastic particle content originated from degradable plastic in compost upon seed germination


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2022

End date30/09/2023


Abstract

ผู้คนโดยทั่วไปจะรับรู้ว่า พลาสติกที่ย่อยสลายได้จะลดปัญหาขยะล้นเมืองได้ แต่ในความเป็นจริงพลาสติกที่ย่อยสลายได้นั้นก็ให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงกว่าปัญหาขยะล้นเมืองเสียอีก ในประเทศไทย ขยะพลาสติกย่อยสลายได้จะถูกเรียกว่า “ขยะกำพร้า” ที่มีการนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบในหลุมฝังกลบ หรือปะปนไปกับพลาสติกหมักปุ๋ย แต่ยังไม่มีข้อมูลของการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำชะ หรือปุ๋ยหมัก พลาสติกแบบย่อยสลายได้ชนิดออกโซ (oxo-degradable plastic) จะเป็นพลาสติกชนิดหลักที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ พลาสติกที่ย่อยสลายได้ชนิดออกโซ มีองค์ประกอบของโพลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) และมีสารเติมแต่งที่ทำให้พลาสติกเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันภายใต้สภาวะแอโรบิก การเสื่อมสภาพของพลาสติกชนิดนี้สามารถเร่งด้วย แสง และ/หรือ เมื่อพลาสติกย่อยสลาย โพลีเอทิลีนจะอยู่ในเศษพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร พลาสติกที่ย่อยสลายได้ชนิดออกโซจึงไม่เหมาะที่จะรีไซเคิล ด้วยการหมักปุ๋ยแบบดั้งเดิม เนื่องจากกระบวนการทางชีวภาพไม่สามารถย่อยสลายโพลีเอทีลีน จึงยังตรวจพบไมโครพลาสติกที่มีโพลีเอทิลีนในปุ๋ยหมักจากพลาสติกย่อยสลายได้ ทั้งนี้ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อพืชทั้งทางบวกและทางลบ ไมโครพลาสติกโพลีเอทิลีนจะยับยั้งการย่อยสลายของสารอินทรีย์ด้วยกระบวนการชีวภาพของจุลินทรีย์ ในกระบวนการหมัก ทั้งปุ๋ยหมัก และปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยคอก แต่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน และแอมโมเนียเพิ่มขึ้นถึง 7.9 และ 20.9 เปอร์เซนต์จากปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการปนเปื้อนด้วยไมโครพลาสติก นอกจากนี้น้ำชะ หรือสาระละลายปุ๋ยอินทรีย์ที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อน พบว่า เมื่อปุ๋ยอินทรีย์มีอายุ (age) ที่แตกต่างกัน และองค์ประกอบของสารอินทรีย์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อการหน่วง หรือกระตุ้นการงอกของพืชแตกต่างกัน หากน้ำชะที่ได้จากปุ๋ยหมักที่ใช้เวลานานและมีอินทรียวัตถุสูง มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการงอกของพืชได้ งานวิจัยนี้จึงจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกจากปุ๋ยหมัก และระยะเวลาการหมักปุ๋ย เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอายุการหมัก ปริมาณสารอินทรีย์ และการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำชะ และประเมินผลกระทบของไมโครพลาสติกที่ย่อยสลาย ที่มีต่อการงอกของพืช ผลการวิจัยจะมีเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการรีไซเคิลถุงพลาสติกย่อยสลายได้ที่สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน


Keywords

No matching items found.


Strategic Research Themes


Publications


Last updated on 2024-11-12 at 15:05