การศึกษาศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การกักเก็บคาร์บอน และการปรับตัวของพันธุ์ไม้เด่นในป่าเขตร้อนภายใต้ความแห้งแล้งรุนแรง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ระบบนิเวศป่าไม้เป็นระบบนิเวศทางชีวภาพที่สำคัญในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอน แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยเฉพาะภาวะแห้งแล้งรุนแรง ก่อให้เกิดการลดการบริการของระบบนิเวศ (Ecossystem service) ดังกล่าว โดยเฉพาะต้นไม้พันธุ์เด่นในป่าที่เป็นกลุ่มชนิดของต้นไม้ส่วนใหญ่ของสังคมในป่านั้นๆ ปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของต้นไม้สายพันธุ์เด่นในระบบนิเวศป่าเขตร้อนในประเทศไทยต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศดังกล่าวมีอย่างจำกัด โครงการวิจัยนี้เป็นการริเริ่มการวิจัยแบบใหม่ในประเทศไทย เพื่อให้เข้าใจในกลไกและกระบวนการ ตลอดจนขีดความสามารถในการปรับตัวของพันธุ์ไม้ โดยมุ่งเน้นที่จะตอบคำถามหลักคือ ป่าเขตร้อนมีกลไกในการตอบสนองอย่างไรและมีความสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความแห้งแล้งได้ในระดับใด โดยการตรวจวัดดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอน การเปลี่ยนแปลงของลักษณะชีพลักษณ์ (phenology) และสรีรวิทยา (physiology) ของสายพันธุ์ไม้เด่น (dominant species) ในป่าเต็งรัง โดยการนำพันธ์ไม้เหล่านี้มาทดลองในโรงเรือนทดลอง ที่สามารถควบคุมการให้น้ำให้อยู่ในระดับต่างๆได้ตามต้องการ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และปลูกป่าทดแทน (Reforestation) และปลูกป่าขึ้นใหม่ (Afforestation) จากต้นไม้พันธุ์เด่นที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้ง และเกิดการบริการทางระบบนิเวศให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งสร้างแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต


คำสำคัญ

  • ความแห้งแล้งรุนแรง, การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, การกักเก็บคาร์บอน, ป่าเขตร้อน, การปรับตัว, Severe drought, Carbon sequestration, Carbon stock, tropical forest, adaptation


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05