Estimation and Minimization of Greenhouse Gas from Livestock and animal feed
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 01/10/2022
End date: 30/09/2023
Abstract
ปัจจุบันการค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป หลายประเทศมีนโยบายที่มุ่งเน้นเรื่องการผลิตสินค้าที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทย ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับสินค้ายั่งยืน อาทิ แผนการปฏิรูปสีเขียวของยุโรป (EU Green Deal) และ ESG: Environmental Social and Governance หรือหลักการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล ซึ่งเป็นเงื่อนไขการแข่งขันทางการค้า อีกทั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Greenhouse Gases Emission) ภายในประมาณปี ค.ศ. 2065 และการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 ตามนโยบายของภาครัฐ ขณะที่อุตสาหกรรมในภาคปศุสัตว์ถูกระบุว่าเป็นผู้ปล่อยก๊าซมีเทน (ก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งที่มีความร้ายแรงในการก่อให้เกิดโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 25 เท่า) ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องเร่งปรับตัวรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยเป็นภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะมีเทนในอัตราที่สูงมาก ทั้งจากกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ และระหว่างการผลิตปศุสัตว์ ซึ่งส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดีปัญหาในปัจจุบันคือ ผู้ประกอบการปศุสัตว์หรือกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ในไทยไม่มีข้อมูลว่าในแต่ละกระบวนการมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณเท่าไหร่อย่างชัดเจน จะมีเพียงรายงานผลการศึกษาในต่างประเทศเท่านั้น ดังนั้นประเด็นที่ทางคณะวิจัยสามารถช่วยกลุ่มภาคีปศุสัตว์ฯ ได้ประกอบด้วย การศึกษาหาข้อมูลพื้นฐาน ณ ปัจจุบัน Baseline ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประเภทต่างๆ จากห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย โดยการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ในแต่ละกระบวนการของห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย การพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (มุ่งเน้นก๊าซมีเทน) เช่น การพัฒนาสูตรอาหารสัตว์โดยการเติมจุลินทรีย์ลงไปอาจทำให้ระบบการย่อยของสัตว์ดีขึ้น การวิเคราะห์จุลชีพในระบบทางเดินอาหารของสัตว์เพื่อออกแบบวิธีการให้อาหารสัตว์ที่เหมาะสม การพัฒนาอาหารเสริมสำหรับสัตว์ การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ปลูกพืชที่นำมาใช้ผลิตอาหารสัตว์ให้สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างเพาะปลูก การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงจากมูลสัตว์ การเพิ่มประสิทธิภาพและนำเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์และการผลิตปศุสัตว์ การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์และการขนส่ง การนำกลไกการซื้อขายคาร์บอนมาประยุกต์ใช้ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย เป็นต้น และการพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรในห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย เพื่อให้มีความเข้าใจเรื่องแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Keywords
- ไบโอดีเซล กลีเซอรอล โพรเพนไดออล, Biodiesel; Glycerol; PDO
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.