Promoting 4Cs of 21st Century Skills with the Design Thinking Process for Secondary School Students in Ratchaburi Remote Areas
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 01/10/2022
End date: 30/09/2023
Abstract
การเปลี่ยนแปลงของโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวิถีการทำงานของประชากรเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติแทนแรงงานคน ทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เกิดนวัตกรรมและอาชีพใหม่ ทำให้หลากหลายองค์กรเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ดังนั้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ไม่เพียงเน้นทักษะและความสามารถทางด้านวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีรวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัล แต่รวมถึงทักษะด้านการคิดและการเรียนรู้ และการสื่อสาร ที่มีความจำเป็นและสำคัญเป็นอันดับต้นๆในการเพิ่มพูนศักยภาพบุคคลให้สามารถคิด และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์หรือนวัตกรรมด้วยการประสานองค์ความรู้วิทยาศาตร์ เทคโนโลยีแขนงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด กอรปกับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธ์ SAR CoV-2 หรือชื่อสามัญคือ COVID-19 ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และการศึกษาอย่างเร่งด่วนและอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมืองหรือชุมชนที่มีระบบเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มความเลื่อมล้ำ”มากยิ่งขึ้น” ในการเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัลต่อประชาการและบุคคลในชุมชนห่างไกล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชุมชนพื้นที่ห่างไกล เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการเรียนรู้ในชุมชน แม้จะมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลากหลายหน่วยงานพยายามส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชนห่างไกลมาอย่างยาวนาน ถึงกระนั้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในพื้นที่เหล่านี้ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการเรียนรู้ของบุคคลในพื้นที่ห่างไกลคือสถานภาพเศรษฐกิจของครอบครัว และชุมชน ดังเช่นการศึกษาวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาต่อของนักเรียนในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี ชี้ให้เห็นว่าการที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรืออาชีวศึกษา หรือการออกจากระบบการศึกษากลางคัน สาเหตุหลักมาจากการหยุดเรียนเพื่อหารายได้ในการจุนเจือครอบครัว ดังนั้นการสร้างงานและรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน ดังพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพร โดยเพิ่มพูนความรู้เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนได้อย่างยั่งยืน การนำความรู้วิทยาศาตร์ และเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ในพื้นที่ห่างไกล ไม่เพียงแต่ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น อีกทั้งการส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ที่สอดคล้องกับบริบทของปัญหา โดยใช้หลักการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อพัฒนาคนในชุมชนให้มีทักษะที่จำเป็นในการปรับตัวสำหรับยุคปัจจุบัน ผ่านวิธีการเรียนรู้แบบเน้นผลลัพท์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบให้เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งสู่การเป็นชุมชนที่พัฒนาได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ผู้วิจัยจึงมุ่งหวังผลของการพัฒนากระบวนการคิดเชิงออกแบบจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะ 4Cs ในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน และทักษะการสื่อสาร ของเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกล
Keywords
- Learning Facilitator
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.