Development of dental composites containing sol-gel derived bioactive glass particles to prevent secondary caries
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 01/10/2022
End date: 30/09/2023
Abstract
โรคฟันผุเป็นโรคเรื้อรังที่มีความชุกสูงสุดสอดคล้องกับผลการสำรวจโดยกรมอนามัยของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งพบว่าความชุกของโรคฟันผุลุกลามในเด็ก (อายุน้อยกว่า 5 ปี) และ ผู้สูงอายุ (60-74 ปี) สูงถึง 73.8% และ 52.6 % ตามลำดับ และหากรอยโรคลุกลามเป็นโพรงที่ขนาดใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการบูรณะฟันด้วยวัสดุบูรณะฟัน การพัฒนาวัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีแก้วชีวภาพเป็นองค์ประกอบในการเป็นวัสดุอัดแทรก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงกล กายภาพ และชีวภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งานเป็นวัสดุบูรณะฟันที่มีประสิทธิภาพดีกว่าวัสดุเรซินคอมโพสิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยอาศัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบูรณาการความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมกระบวนการวิจัยและได้องค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมชีวภาพบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ด้านทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บริษัทด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทยมีนวัตกรรมทางทันตกรรมและด้านการทดแทนกระดูกที่สามารถให้ผลการรักษาที่ดีกว่าวัสดุปัจจุบันที่ผลิตขึ้นได้ในประเทศไทยและมีคุณสมบัติที่ดีกว่าวัสดุที่มีอยู่ในท้องตลาด ซึ่งปัจจุบันบริษัทด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์มีส่วนแบ่งทางการตลาด (market share) ถึง 62% ในประเทศ แต่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบ 100% ดังนั้น การพัฒนาวัสดุบูรณะฟันนับเป็นการเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (medical device) ทางทันตกรรมซึ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าวัสดุเรซินคอมโพสิตจากต่างประเทศทั้งหมด อีกทั้ง การสร้างทีมนักวิจัยด้านทันตชีววัสดุให้งานวิจัยสามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้งานทางคลินิกได้จริงเป็นการพัฒนาทั้งนวัตกรรมและกำลังพล เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองนโยบายประเทศที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ในเอเชีย
ทั้งนี้วัสดุเรซินคอมโพสิตที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติต้านฟันผุซ้ำ ซึ่งช่วยลดความล้มเหลวจากการรักษาและลดภาระทางสุขภาพและภาระงานด้านสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางทันตกรรม ลดโอกาสการสูญเสียฟันทำให้ผู้ป่วยทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ในปัจจุบันวงการทันตแพทย์ต้องการ ให้คนสูงวัยอายุ 80 ปี ควรมีฟันธรรมชาติอย่างน้อย 20 ซี่ (หลัก 80:20) เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน ลดภาระงานของบุคลากรทันตกรรมจาการรักษาฟันผุซ้ำ ลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครรัฐในการรักษาและแก้ไขปัญหาฟันผุซ้ำ ลดค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงเป็นการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วนเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระบบเศรษฐกิจ (Bio-Circular-Green-Economy: BCG) มีเทคโนโลยีทางทันวัสดุทันตกรรมขั้นสูงที่พัฒนาเองแข่งขันได้ในระดับสากล รวมถึงสอดคลองกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Sustainable development goal) ในเป้าหมายที่ 3 เพื่อสร้างหลักประกันว่าคนมีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
Keywords
- bioactive glass particles
- resin composite
- secondary caries
- sol-gel