The Development of Learning through Youth and Families Participatory Thinking and Design for Co-Learning Model in Tung-kru and Bangkhuntian District


Principal Investigator


Co-Investigators


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2022

End date30/09/2023


Abstract

     จากผังเมืองของเขตทุ่งครุ โดยเฉพาะบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รายล้อมไปด้วยพื้นที่แห่งการเรียนรู้มากมาย อาทิเช่น ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ทุ่งครุ ศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็กและครอบครัว (นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร) ศูนย์ฝึกเฉลิมพระเกียรติและสวนธนบุรีรมย์ที่เป็นสถานที่สำคัญในการออกกำลังกายและกิจกรรมกีฬา และยังมีค่ายลูกเสือกรุงธน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญอีก 1 แห่ง ที่ถูกปิดปรับปรุงมาเป็นระยะเวลายาวนาน กว่า 10 ปี ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณนี้ มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในชุมชนได้อีก หากเราสามารถร่วมคิดและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน แต่ยังขาดกลไกสร้างความร่วมมือในพื้นที่

      จากประสบการณ์การทำงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ เช่น ศูนย์อาสาสร้างสุข Café Can Do, วิสาหกิจชุมชนคลองบางมดสร้างสรรค์, กลุ่มตลาดมดตะนอย, วิสาหกิจชุมชนดารุลอิบาดะห์, และเครือข่ายอื่นๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่อีกหลายกลุ่ม ทำให้มองเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ทางกายภาพและศักยภาพของผู้คนในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนาร่วมกันสู่การสร้างกลไกการเรียนรู้ตามแนวคิดนิยามของ UNESCO (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) ซึ่งได้ให้คำนิยามเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) คือ เมืองสำหรับการศึกษาในการเป็นพื้นที่เรียนรู้ทางสังคมของผู้คน และก่อตั้งเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่นพัฒนากลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษาของผู้คน

       ทางคณะทำงานจึงพัฒนาแนวคิดและคิดโครงการการพัฒนาโมเดลเมืองแห่งการคิดและออกแบบอย่างมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างมีส่วนร่วมในเขตทุ่งครุและบางขุนเทียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่การเรียนรู้ร่วม (Co-Learning Space) ในเขตทุ่งครุ  สร้างพื้นที่ต้นแบบและกระบวนการเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ โดยใช้ภาวะการนำร่วม เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วม (Co-Learning Space) ร่วมกัน

       โดยในการทำงานครั้งนี้ จะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน ทำให้เขตทุ่งครุและบางขุนเทียนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนทุกวัยได้อย่างยั่งยืน


Keywords

  • เมืองแห่งการเรียนรู้, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, พื้นที่การเรียนรู้ร่วม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, กระบวนการมีส่วนร่วม


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2024-20-12 at 14:38