Assessment of the Role and Impact of Off-Grid Renewable Energy Generation Technology on Communities Surrounding the Nakhon Si Thammarat Mountain Range
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
Project details
Start date: 01/10/2022
End date: 30/09/2023
Abstract
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชากรทั่วโลก แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าราคาพลังงานดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาดโลก ไม่สามารถควบคุมราคาได้และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม ทั้งสังคมเมือง สังคมชนบท หรือแม้กระทั่งชุมชนรอบเมือกเขานครศรีธรรมราช ที่ผ่านมาชาวบ้านอาศัยน้ำจากลำธารใกล้เคียงสำหรับทำการเกษตรกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภค ใช้ฟืนในการหุงหาอาหาร ใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด ถ่านไฟฉาย เทียนไข หรือเครื่องยนต์ปั่นไฟขนาดเล็ก เพื่อให้แสงสว่าง ซึ่งการใช้งานระบบดังกล่าวจะเกิดมลภาวะทางอากาศ ส่งผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจและระบบนิเวศในพื้นที่ป่า และยังเพิ่มรายจ่ายของชาวบ้านให้สูงขึ้นทั้งการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการซื้อเชื้อเพลิง คณะผู้วิจัยจึงเริ่มศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบชุดกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากให้มีราคาถูกลง และครอบคลุมทุกลักษณะการใช้งาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงนวัตกรรมกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กในประเทศ ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในชนบทแต่ละครอบครัว และมีการนำผลการวิจัยไปติดตั้งสาธิตในพื้นที่บ้านคีรีวงจังหวัดนครศรีธรรมราชมากว่า 10 ปี มีการติดตั้งแล้วกว่า 140 ชุด พิกัดกำลังไฟฟ้ารวมกว่า 91 กิโลวัตต์ ประกอบกับนโยบายความเท่าเทียมในการเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่รวมแล้วกว่า 60 ระบบ พิกัดกำลังไฟฟ้ารวมกว่า 27 กิโลวัตต์
เพื่อให้การผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราชมีความยั่งยืน คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในถอดบทเรียนจากการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราชที่มีการติดตั้งใช้งานกว่า 200 ระบบ และมีการใช้งานมาแล้วกว่า 10 ปี โดยอาศัยการจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ และการประเมินบทบาทและผลกระทบเชิงเทคนิค เชิงความมั่นคงและเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนต่อทุกภาคส่วนในพื้นที่ชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้จากประสบการณ์การติดตั้งใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ซึ่งสามารถขยายผลไปยังชุมชนในพื้นที่ห่างไกลอื่น ๆ ของประเทศเพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ และยังก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าหมุนเวียนในประเทศ จึงเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบัน และยังก่อให้เกิดการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนาะพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015) ตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานและแผนปฏิรูปพลังงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ทั้งในด้านการส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้และความตระหนักทางด้านไฟฟ้า รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมาย Sustainable Development Goals ข้อ 7 (SDG#7) จะเกิดขึ้นได้ที่มีความยั่งยืนจากการสร้างองค์ความรู้ในการผลิตและใช้พลังงานสะอาดให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหา การติดตั้ง การใช้งานและบำรุงรักษาระบบ ส่งผลให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
Keywords
- การประเมินผลกระทบ
- การผลิตไฟฟ้าในชนบท
- เทือกเขานครศรีธรรมราช
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.