การพัฒนาชุดเซนเซอร์สมาร์ทโฟนสำหรับการวัดสารลดน้ำหนักไซบูทรามีน


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อต่อยอดงานวิจัยพื้นฐานการวัดสารไซบูทรามีนด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้าที่ได้รับทุนวิจัยบูรณาการ ปีงบประมาณ 2562 ที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาเซนเซอร์วัดสารไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมลดน้ำหนัก ด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้าบนขั้ววัดแบบพิมพ์สกรีน ที่มีจุดเด่นคือใช้งานง่าย สะดวกต่อผู้ใช้ มีความแม่นยำสูง และสามารถแสดงปริมาณของสารที่ต้องการวัดได้  ซึ่งได้รายงานผลการวิจัยในรายงานฉบับสมบูรณ์คือหัววัดเคมีเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดสารไซบูทรามีนได้เป็นอย่างดี โดยสารไซบูทรามีนเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบไม่ผันกลับที่ศักย์ไฟฟ้าประมาณ 0.6 โวลต์เทียบกับ (เทียบกับซิลเวอร์ซิลเวอร์คลอไรด์) ในสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.1 โมลาร์ในฟอสเฟตบัฟเฟอร์ เข้มข้น 0.2 โมลาร์  pH 6.5 ซึ่งเป็นสภาวะกรด-เบสที่เหมาะสมต่อการวัดมากที่สุด เทคนิคทางเคมีไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวัดไซบูทรามีนเชิงปริมาณคือเทคนิคดิฟเฟอร์เรนเชียลพัลส์โวลแทมเมทรีแบบพัลส์เชิงผลต่าง (DPV) ที่พารามิเตอร์ initial potential 0.2 โวลต์ end potential 0.9 โวลต์ step potential 0.01245 โวลต์ modulation amplitude 0.15 โวลต์ modulation time 0.05 วินาที และ interval time 0.5 วินาที ส่วนอิเลคโทรดที่เหมาะสมสำหรับใช้วัดสารไซบูทรามีนคืออิเลคโทรดคาร์บอนพิมพ์สกรีนแบบ 3 ขั้วไฟฟ้า  อันได้ แก่ขั้วไฟฟ้าทำงานและขั้วไฟฟ้าช่วยที่พิมพ์จากคาร์บอนแบบกราไฟต์       ขั้วไฟฟ้าอ้างอิงพิมพ์จากซิลเวอร์ซิลเวอร์คลอไรด์ ซึ่งอิเลคโทรดดังกล่าวผลิตจากบริษัทควอเซ้นที่สปินออฟจากห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เทคโนโลยี  และได้รับการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงพบว่ามี  % RSD เท่ากับ 5.56   ซึ่งหมายความว่าอิเลคโทรดที่บริษัทผลิตให้ห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เทคโนโลยีมีความเที่ยงตรงสูง  

การวิจัยต่อยอดของโครงการดังกล่าวจะทำวิจัยเพิ่มในส่วนของการเพิ่มความจำเพาะของการวัดสารไซบูทรามีนในตัวอย่างจริง และสร้างชุดเซนเซอร์ที่สามารถตรวจวัดสารไซบูทรามีนด้วยมือถือสมาร์ทโฟนที่ใช้งานง่าย มีความถูกต้องสูง โดยจะพัฒนาแอปพลิเคชัน DPV ซอฟแวร์เพื่อควบคุมและประมวลผลการวัดบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ดังรูปที่ 3 เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้นจะได้ชุดเซนเซอร์สมาร์ทโฟนต้นแบบสำหรับวัดสารไซบูมรามีนสำหรับงานภาคสนาม


คำสำคัญ

  • screen-printed electrode
  • sibutramine
  • voltammograme


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05