การพัฒนากระบวนการผลิตโพลีแซคคาไรด์จากสาหร่ายพวงองุ่นเหลือทิ้ง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

สาหร่ายพวงองุ่นเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 25 ตันต่อเดือน โดยมีฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในหลายจังหวัดบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย การบริโภคเป็นการรับประทานสด ราคาจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 500-800 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามสาหร่ายพวงองุ่นยังมีข้อจำกัดที่อายุการเก็บสั้น สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้เพียงประมาณ 5-6 วัน ไม่สามารถเก็บในตู้แช่เย็นได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ส่วนที่จำหน่ายไม่หมดจึงกลายเป็นของเสีย นอกจากนี้การคัดแยกตัดแต่งช่อเพื่อจำหน่ายจะมีสาหร่ายพวงองุ่นที่ไม่ได้ขนาดถูกคัดทิ้งมากถึง 60-70% ของผลผลิตทั้งหมด คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำสาหร่ายพวงองุ่นเหลือทิ้งเหล่านี้มาเพิ่มคุณค่า โดยผลวิจัยโครงการ “การสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากสาหร่ายพวงองุ่น”ที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ปี 2562) ได้ทราบสภาวะเหมาะสมของการสกัดโพลีแซคคาไรด์ทั้งอัตราส่วนสาหร่ายพวงองุ่นแห้งต่อน้ำ (1:15 w/v) อุณหภูมิ (90°C) เวลาที่ใช้สกัด (60 นาที/ครั้ง) และการแยกสารสกัดด้วยสารละลายเอทานอล โดยจะได้ผลผลิตสารสกัดโพลีแซคคาไรด์ประมาณ 25% ของน้ำหนักแห้ง อีกทั้งสารสกัดที่ได้มีฤทธิ์สามารถยับยั้งเอนไซม์ alpha-glucosidase (IC50 13.59 mg/ml) ซึ่งช่วยลดการย่อยสลายแป้งและคาร์โบไฮเดรต ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจึงช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ผลการประเมินความคุ้มค่าในการผลิตสารสกัดโพลีแซคคาไรด์จากสาหร่ายพวงองุ่นเหลือทิ้งพบมีความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ (Chaiklahan et al. 2020) การนำสาหร่ายมาสกัดโพลีแซคคาไรด์จึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาหร่ายเหลือทิ้ง และเพิ่มทางเลือกในการจัดการของเสียให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคณะผู้วิจัยจะทราบสภาวะเหมาะสมของการสกัด แต่การขยายขนาด (Scale-up) การผลิตยังจำเป็นต้องศึกษาพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อหาอุปกรณ์/เครื่องมือที่ทนต่อการสึกหรอ สิ้นเปลืองพลังงานน้อย และให้ได้วิธีการที่เหมาะสมในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้สะดวกและใช้เวลาสั้น เป็นต้น โครงการวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายพัฒนากระบวนการผลิตโพลีแซคคาไรด์จากสาหร่ายพวงองุ่นเหลือทิ้งในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบสาหร่าย การแยก การตกตะกอนโพลีแซคคาไรด์ และการทำแห้ง


คำสำคัญ

  • bioactive compounds
  • Caulerpa lentillifera
  • Polysaccharide
  • สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa)


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05