การวิเคราะห์การไหลของวัสดุและพลังงาน และการจัดเตรียมฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน ของการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: กรณีศึกษาม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนภายใต้กรอบการทำงาน “มจธ. มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนตาม SDGs 2030” โดยได้มีการดำเนินการทางด้านการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา และในปี 2564 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานตามเป้าหมายและคณะทำงานตามเป้าหมายเพื่อการปล่อยของเสียเป็นศูนย์ (Zero waste) อีกด้วย   การดำเนินการตามเป้าหมายและนโยบายที่กำหนดให้สำเร็จได้นั้น ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือการมีข้อมูลสถิติที้งจากอดีตและข้อมูลปัจจุบันที่เชื่อถือได้ เพื่อให้การวิเคราะห์แผนปฏิบัติการของคณะทำงานต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ตอบโจทย์คำถามสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการวางแผนพัฒนาองค์กร

    โครงการนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ “การจัดการขยะมูลฝอยเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน”   โดยจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของมจธ. ผู้วิจัยพบว่าการจัดการข้อมูลทางด้านขยะมูลฝอยของมจธ. ที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีรูปแบบมาตรฐานที่สามารถใช้ปฏิบัติร่วมกันทั้ง มจธ. การเก็บรวบรวมและติดตามข้อมูลทางด้านขยะมูลฝอยของแต่ละพื้นที่บริการการศึกษา (บางมด, บางขุนเทียน, KX, ราชบุรี) ค่อนข้างเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีระบบรวบรวมและประมวลผลข้อมูลครบทั้ง 4 พื้นที่การศึกษาให้อยู่ที่เดียวกัน ไม่มีระบบรายงานข้อมูลแบบแจกแจงที่เปิดเผยได้อย่างเป็นทางการ ข้อมูลที่รวบรวมได้ในอดีตตรวจสอบและหาที่มาได้ค่อนข้างยาก ในปัจจุบัน ศูนย์การจัดการด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Energy Environment Safety and Health: EESH) ของ มจธ. เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลทางด้านขยะ เพื่อประกอบการจัดทำรายงานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างไรก็ตาม ปริมาณและความละเอียดของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการประเมินความยั่งยืนของการจัดการขยะมูลฝอยใน มจธ. ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการวางแผน และพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบประมวลผลรวมทุกพื้นที่จึงน่าจะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้องค์กรดำเนินการตามเป้าหมายและนโยบายที่กำหนดแบบ Evidence-based planning ได้

          การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ละเอียด ไม่ใช่เพียงแต่ปริมาณขยะทีเกิดขึ้น กล่าวคือ จำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบของขยะ การไหลของขยะ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของขยะนั้นต่อสภาวะแวดล้อม


คำสำคัญ

  • Sustainability


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-20-12 ถึง 14:37