Speech Stroop Test: แอปพลิเคชันสำหรับบ่งชี้ภาวะการทํางานของสมองที่เสื่อมถอยของผู้สูงอายุในประเทศไทย


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2565  และภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่สำคัญที่คุกคามผู้สูงวัยในประเทศไทย โดยทั่วไปการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเบื้องต้นจะเป็นการให้ผู้ทดสอบทำแบบทดสอบเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ทักษะพื้นฐานต่างๆ เพื่อทำการหาสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้น โดยที่จะอยู่ในรูปแบบของกระดาษ และต้องไปทำที่โรงพยาบาลโดยนักจิตวิทยาเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้อาจเกิดความล่าช้าและไม่สะดวกในการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล และในสถานการณ์โรคระบาด ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยเนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งอาจนำเป็นสู่ปัญหาที่ไม่ทราบว่าตนมีความเสี่ยงหรือกำลังมีภาวะสมองเสื่อม ทางผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาแอปพลิเคชัน Speech Stroop Test ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการทดสอบการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีผลต่อการมีภาวะสมองเสื่อมแบบเบื้องต้นได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ตรวจสอบภาวะสมองเสื่อมด้วยตนเอง นำไปสู่การรักษาและปฏิบัติตนในการพัฒนาและบริหารสมอง

     โครงการวิจัยนี้ จะทำการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน Speech Stroop Test ที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบภาวะสมองเสื่อม ข้อดีของ แอปพลิเคชัน Speech Stroop test คือระบบสามารถเก็บข้อมูลจากเสียงของผู้ใช้ได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรทางการแพทย์หรือนักวิจัยในการประมวลและสรุปผล และใช้เวลาในการสรุปผลน้อยกว่าชุดทดสอบ Stroop test แบบอื่น แอปพลิเคชัน Speech Stroop Test จะมีการประเมินคุณภาพทางด้านการใช้งาน (Usability testing) ก่อนการใช้จริง เมื่อแอปพลิเคชันพร้อมที่จะใช้งาน ผู้วิจัยจะทำการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ แอปพลิเคชัน Speech Stroop Test เทียบกับ MOCA App ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจหาโรคอัลไซเมอร์ และวัดการคิดเชิงบริหาร (Executive functions) หลังจากนั้น จะทำการสรุปผลและนำเสนอผลการเก็บข้อมูลในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ในอนาคต จะมีการนำแอปพลิเคชัน Speech Stroop Test ไปใช้งานกับบุคคลทั่วไปทำให้มีข้อมูลจำนวนมาก และสามารถนำมาวิเคราะห์ และพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบภาวะสมองเสื่อมให้ดียิ่งขึ้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05