Extraction of lard and black sesame using co-rendering method to obtain oil of high oxidation stability with a balanced fatty acids ratio
Principal Investigator
Co-Investigators
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 01/10/2022
End date: 30/09/2023
Abstract
การบริโภคอาหารประเภทไขมันมีส่วนเชื่อมโยงต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันน้ำมันจากสัตว์แม้จะได้รับความนิยมน้อยกว่าน้ำมันพืช แต่น้ำมันหมูยังคงเป็นน้ำมันจากสัตว์ที่ใช้ในการประกอบอาหารโดยเฉพาะตำรับอาหารจีนอย่างแพร่หลาย น้ำมันหมูผลิตได้ง่ายด้วยกรรมการเจียวแห้ง แต่จุดด้อยของน้ำมันหมูคือ 1) มีความคงตัวต่อออกซิเดชันต่ำ ส่งผลต่ออายุของผลิตภัณฑ์ ในทางการค้าจึงมีการเติมสารต้านอนุมูลอิสระเข้าช่วย 2) องค์ประกอบไขมันอิ่มตัวสูงและมีคอเลสเตอรอล อัตราส่วนกรดไขมันไม่สมดุลต่อการบริโภคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก การบริโภคน้ำมันผสมเพื่อสุขภาพกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ มีงานวิจัยรองรับถึงคุณประโยชน์ เนื่องจากให้สมดุลของกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพซึ่งการใช้น้ำมันเพียงชนิดเดียวไม่สามารถทำได้ ผลิตภัณฑ์น้ำมันผสมที่มีจำหน่ายทางการค้าปัจจุบันส่วนใหญ่ล้วนเป็นกลุ่มน้ำมันพืช ขาดการประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์น้ำมันจากสัตว์ ซึ่งยังคงมีประเด็นจุดด้อยดังที่ได้กล่าวมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวการใช้สารต้านอนุมูลอิสระจากงาดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีการส่งเสริมการเพาะปลูกในประเทศ มีสารกลุ่มลิกแนนที่สามารถเพิ่มความเสถียรต่อออกซิเดชันและนำไปใช้กับน้ำมันทอดได้ อีกทั้งยังเป็นพืชน้ำมันที่ใช้กับการประกอบอาหารกลุ่มเดียวกันกับน้ำมันหมู จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาศึกษาวิจัยต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้เสนอวิธีการสกัดน้ำมันหมูร่วมกับงาดำแบบเจียวร่วม (co-rendering) เพื่อให้ได้น้ำมันที่เพิ่มความเสถียรต่อการเกิดออกซิเดชันและมีอัตราส่วนกรดไขมันสมดุลที่ดีต่อสุขภาพในกรรมวิธีเดียว สามารถลดขั้นตอนการสกัดน้ำมันแต่ละชนิดเพื่อผสมเข้าด้วยกัน การลดเวลาและไม่ใช้สารเคมีในการสกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลายทางเลือกของการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีการเจียวร่วม ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือน้ำมันที่เพิ่มมูลค่าทางโภชนาการด้วยอัตราส่วนกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพและมีความคงตัวสูง อีกทั้งน้ำมันหมูและน้ำมันงาต่างก็มีกลิ่นรสเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์และดีทั้งคู่ดังนั้นจึงน่าจะส่งเสริมคุณภาพด้านกลิ่นให้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของงานวิจัยนี้คือได้พัฒนาต้นแบบเทคโนโลยี/กระบวนการใหม่สำหรับการผลิตน้ำมันบริโภคที่มีสารเพิ่มมูลค่าด้วยขั้นตอนอย่างง่ายที่เหมาะกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทผู้ผลิตน้ำมันบริโภค หรือมีผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่เป็นแหล่งไขมันและน้ำมัน งานวิจัยนี้สอดคล้องกับยุทธศาตร์สร้างความเข้มแข็งของงานวิจัยพื้นฐานที่มีแนวโน้มพัฒนาสู่โครงการที่ใหญ่ขึ้น พัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของคนไทย สร้างโอกาสการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีภายในประเทศ
Keywords
No matching items found.
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.