โครงการพัฒนาองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและปฎิบัติของประเทศไทยด้านการปรับใช้วิทยาการปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้ชื่อว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในวงการการแพทย์ เพราะความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยโรคจากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ทั้งข้อมูลภาพและข้อมูลจากฐานข้อมูลคนไข้ โดยระดับความสามารถและความถูกต้องในการวินิจฉัยที่เทียบเท่า หรือดีกว่าแพทย์ในการวินิจฉัยหลายโรค อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาและเยียวยาวิกฤตทางสุขภาพ เช่น การตรวจวินิจฉัยภาวะติดเชื้อโควิดโดยปัญญาประดิษฐ์ที่วินิจฉัยภาพเอกซเรย์ทรวงอก การตรวจวินิจฉัยมะเร็งจากภาพถ่าย Mammogram, MRI, หรือ ภาพถ่ายสไลด์ Pathology ในสังคมที่จำนวนผู้สูงอายุมีเพิ่มสูงขึ้น 

อย่างไรก็ดี มีอุปสรรคหลากหลายในการนำปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์เข้ามาใช้ในประเทศไทยรวมทั้งการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ขึ้นมาใช้เองภายในประเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ ไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งออกในต่างประเทศ โดยอุปสรรคเหล่านี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ​(1) ขาดองค์ความรู้เชิงทฤษฎีที่ลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจงในสาขาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ (2) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (3) ขาดองค์ความรู้เชิงการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น การเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล การทำความเข้าใจและทดสอบกับผู้ใช้ การพัฒนานวัตกรรมที่ได้มาตรฐานสากล 

โครงการนี้จึงมุ่งเน้นที่จะรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมทั้งบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ โดยมุ่งหวังว่าการตีพิมพ์ผลงานจะทำให้เกิดความตื่นตัวและทำให้นักวิจัยรุ่นหลังสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และประสบการณ์ของนักวิจัยรุ่นก่อนได้ และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ


คำสำคัญ

  • Artificial Intelligence Technology (AI)
  • Medical imaging


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05