Virtual smart hospital on the metaverse platform


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members


Project details

Start date01/10/2022

End date30/09/2023


Abstract

ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกมิติ ไม่เว้นแม้แต่มิติการ ทำงานของหน่วยงานด้าน สาธารณสุขที่นําเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการให้บริการประชาชน การบริหารจัดการภายในหน่วยงาน การกําหนดนโยบายต่างๆ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหา อุปสรรค หรือความท้าทาย ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาจำนวนผู้ป่วยต่อวันที่มีอัตราส่วน ไม่เหมาะสมต่อจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ใช้เวลาในการรอรับบริการยาวนาน จึงเกิดภาวะแออัด เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่ตั้งของโรงพยาบาล และจำนวนบุคคลากรที่ไม่สามารถให้บริการกับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องเดินทางไกลมาเพื่อเข้ารับการรักษา หรือไม่ได้รับความสะดวกสบายในการของใช้บริการ 

ดังนั้นการสร้าง  Virtual Hospital จะทําให้รูปแบบการทํางาน การให้บริการ และการดําเนินการต่างๆ เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม  ช่วยให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล ลดแออัดในโรงพยาบาล ลดต้นทุนในการเดินทาง และประหยัดเวลา 

โดยปัจจุบัน เทคโนโลยีที่สําคัญต่อการพัฒนาเพื่อมุ่ง ไปสู่การเป็น “โรงพยาบาลเสมือนจริง” คือการใช้เทคโนโลยี Metaverse ซึ่งเป็นแนวคิดแห่งอนาคตโดยใช้ VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) เพื่อให้ผู้ใช้จะมีชีวิตอยู่ ทำงาน ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคนอื่นภายในโลกเสมือนจริง 

Metaverse จะทำให้ผู้ใช้เข้าไปสู่อีกโลกคือโลกเสมือนในขณะที่ตัวยังอยู่ในโลกจริง เราสามารถสร้างตัวตนในรูป Avatar โดย Virtual Reality (VR) มาปรับใช้ ในการจําลองภาพหรือสถานการณ์เหมือนจริง เพื่อบริหารจัดการด้านปัญหาสุขภาพ โดยมีการขยายพื้นที่การรักษาสุขภาพไปยังพื้นที่ห่างไกล (Telemedicine) โดยมี ระบบ Tele-monitoring หรือการตรวจติดตามทางไกล เป็นระบบที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในด้านทางการแพทย์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการปรึกษาปัญหาสุขภาพและลดปัญหาด้านระยะทางและเวลา โดยใช้เทคโนโลยี Video Conference, Audio Conference, Real-Time Chat เพื่อปรึกษาและพูดคุยกับแพทย์และได้รับการบริการหลังจากการวินิจฉัย เช่น การรับยาผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ทีมแพทย์และพยาบาลสามารถติดตามดูแลจากระยะไกลได้ แทนการต้องเข้ามาอยู่ที่โรงพยาบาลซึ่งอาจไม่มีพื้นที่รองรับได้ทั้งหมด  ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อของบุคลากรทางแพทย์ในอีกทางหนึ่งด้วย

ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual Hospital) ขึ้น โดยงานวิจัยนี้ได้นำเสนอต้นแบบโรงพยาบาลเสมือนจริง โดยมี 3 องค์ประกอบดังนี้ 

1. การใช้บริการบนระบบ Virtual Platform 

2. การจัดการระบบฐานข้อมูล (Database) การจัดการโครงสร้างของข้อมูลOnline Synchronized Database 

3. การประมวลผลและการคาดการณ์จากข้อมูล (Big-Data Driven Management) โดยใช้ระบบ Artificial Intelligent (AI) 

โดยระบบโรงพยาบาลเสมือนจริง (Virtual Hospital) เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการการดูแลสุขภาพและผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วย NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งมีการการนำอุปกรณ์ IOT Wearable Device ที่สามารถเก็บข้อมูล Vital Sign ของผู้ป่วยและส่งข้อมูลให้แพทย์ได้ โดยแพทย์สามารถประเมินผลได้จากข้อมูลที่ได้มา เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดระดับและออกซิเจนในเลือด เพื่อเก็บข้อมูลผู้ป่วยแบบ Real-Time ที่เชื่อมต่อในรูปแบบ IoT ส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบ AI เพื่อให้สามารถนำคัดกรองความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์วัดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและคัดกรอกผู้ป่วย รวมถึงแนวทางการรักษา ก่อนส่งให้แพทย์ ซึ่งดำเนินงานโดยทีมแพทย์และสหวิชาชีพ และส่งต่อข้อมูลที่จำเป็นให้กับโรงพยาบาลเพื่อใช้ประกอบในการให้การดูแลรักษาโดยแพทย์ผ่านการTeleconsultation เพื่อให้บริการ Virtual Hospital ต่อไป


Keywords

No matching items found.


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2024-20-12 at 14:36