การพัฒนากรอบคิดของผู้ประกอบการโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

   

    จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด คงไม่ต้องถามว่าเราจะปรับตัวไหม ต้องถามว่าเราจะปรับตัวอย่างไร วิธีการใดที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อองค์กร มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาต้องมองถึงความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานในอนาคตว่าความรู้ ความสามารถ ที่มหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษา ณ ตอนนี้เพียงพอต่อความต้องการทักษะของแรงงานในระดับสูงมากขึ้นหรือไม่ และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีความคล่องตัว สอดคล้องกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือไม่ ดังจะเห็นได้ว่าอาชีพใหม่ได้เกิดขึ้นมากมายทดแทนอาชีพเก่า เช่นเดียวกับธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย คนรุ่นใหม่มากมายหันมาสร้างธุรกิจของตนเอง และองค์กรหลายองค์กรปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัวมากขึ้นโดยมุ่งเน้นการบริหารกระจายอำนาจการตัดสินใจเป็นแนวราบ ดังนั้นสิ่งที่ควรต้องปลูกฝังให้กับนักศึกษาคือการมีกรอบคิดของผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) เพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ สร้างผลิตภัณฑ์ แนวคิดและบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ของตลาดได้ ถึงแม้ว่านักศึกษาจะมีหรือไม่มีธุรกิจเป็นของตนเองก็ตาม

    กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นสมรรถนะหนึ่งที่ต้องการและจำเป็นเพราะเป็นการคิดแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และการบริการ ที่ออกแบบตามความต้องการของคน (Human-centered Design) ซึ่งสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมต่อไปได้ มีการใช้ความรู้แบบบูรณาการข้ามศาสตร์ และส่งเสริมให้มีทักษะการมองแบบองค์รวม การคิดสร้างสรรค์ การคำนึงถึงความต้องการผู้ใช้งาน รวมถึงการบริหารทรัพยากรและเวลา ทักษะเหล่านี้นำไปสู่การสร้างกรอบคิดของผู้ประกอบการ อันเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

    กลไกสำคัญที่ช่วยผลิตกำลังคนได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานแห่งอนาคต คือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสมรรถนะที่จำเป็นต่อการทำงานเป็นหลัก ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับความสามารถเชิงประจักษ์ของนักศึกษา ดังนั้นในการออกแบบหลักสูตรต้องกำหนดผลลัพธ์และหลักฐานการเรียนรู้เป็นที่ตั้ง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ความสามารถที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ในแต่ละระดับการศึกษาและกำหนดให้มีความต่อเนื่องกันเพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนความสามารถในระดับถัดไปสู่ความเชี่ยวชาญมากขึ้น

    เพื่อสร้างเสริมกรอบคิดของผู้ประกอบการให้เกิดในผู้เรียน เริ่มต้นคณะผู้วิจัยต้องศึกษาและระบุตัวชี้วัดสมรรถนะจากบทความวิจัยและ Best Practice ด้านการออกแบบสมรรถนะ หลังจากนั้นจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ วิธีการวัดและพิสูจน์สมรรถนะในแต่ละระดับ และทดสอบกับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยคณะผู้วิจัยมีความเชื่อว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะคือการฝึกฝนและทำซ้ำเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างทักษะและความเชี่ยวชาญขึ้น ผ่านกระบวนการ Iterative Process ในขั้นตอนการคิดเชิงออกแบบ และการประยุกต์ใช้ความรู้กับโจทย์ที่หลากหลาย


คำสำคัญ

  • กรอบคิดของผู้ประกอบการ, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, การเรียนแห่งอนาคต, นักศึกษามหาวิทยาลัย


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05