การบันทึก และผลิตซ้ำภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยเทคนิคการพิมพ์ 2.5 มิติ กับหลักการ Stereo matching


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย  คือภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย นิยมเขียนภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา  เช่น โบสถ์ วิหาร  เนื้อหาที่เขียนเรื่องราว เกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ  ลักษณะและกรรมวิธีการเขียนขึ้นอยู่กับวิธีและฝืมือของช่างเขียน มีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย เช่น สีเอกรงค์ และสีพหุรงค์ รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยเป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทาง ความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรา จะมีลักษณะเด่นงามสง่า ด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปิติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัป กิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน  รูปแบบวิธีการแสดงออกในทางศิลปะ จะมีคุณลักษณะเฉพาะในแต่ละสกุลครูช่าง ที่มีการถ่ายทอดศิลปะ เทคนิคการผลิต สะท้อนฝีมือ องค์ความรู้ อัตลักษณ์เฉพาะ เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์สังคม สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละถิ่นอีกด้วย จัดเป็นมรดกของชาติที่อยู่ในรูปของศิลปะ  ภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย มีวิวัฒนาการด้านรูปแบบ วิธีการมา ตลอดจนถึงปัจจุบัน และสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต 

ปัจจุบัน จิตรกรรมฝาผนังไทย จำนวนมากที่อยู่ในสภาพที่ชำรุด และบางแห่งอยู่ในสภาพลบเลือนจนไม่สามารถมองเห็นความงดงามได้ ชั้นสีเกิดการหลุดร่วง โป่งพอง เสื่อมสภาพ หลุดร่อนเป็นแผ่นออกจากผนัง และยังพบว่ามีการแก้ไข ทำลาย ต่อเติมผิดวิธี สาเหตุหลักที่ทำให้จิตรกรรมฝาผนังไทยเสื่อมโทรม หรือเสียหาย สามารถแบ่งได้เป็น สาเหตุจาก 1) วัสดุ เทคนิคการเขียนภาพ โดยในอดีตการเตรียมวัสดุ ทั้งการเตรียมผนัง ชั้นรองพื้นและสีที่ใช้ จะเป็นการนำเอาวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดปัญหาสีซีดจาง หลุดลอกได้   2) สาเหตุจากธรรมชาติ ได้แก่ความชื้นจากอากาศและพื้นดิน ฝนตก ฝุ่นละอองและคราบสกปรก  อุณหภูมิ ความร้อนจากแสงแดด ภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม คราบสกปรกจากน้ำ คราบเกลือ เป็นต้น 3) สาเหตุจากมนุษย์  เช่นการสัมผัสกับภาพโดยตรง ขูด ขีด เขียน การซ่อมแซมหรือต่อเติมที่ไม่ถูกวิธี นอกจากทำให้ภาพจิตรกรรมเสียหายแล้วยังทำลายคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ในคุณค่าของศิลปกรรมไทย ขาดการดูแลการใส่ใจของประชาชน วัด การอนุรักษ์ที่ผิดหลักวิชาการ การขาดกำลังคนและทุนทรัพย์ในการดำเนินการ  ขาดการสืบสานแบบอย่างของท้องถิ่น  ส่งผลให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังไทยบางแห่ง ทรุดโทรม ลบเลือน ถูกทำลายลง อีกทั้งยังขาดการเก็บบันทึกข้อมูล ทั้งรูปภาพ สีสัน องค์ประกอบ ส่งผลต่อการจดบันทึกทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางศิลปะ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และคุณลักษะฝีมือของช่างเขียนรูป ขาดหลักฐานเพื่อการสืบค้นและการศึกษาเนื้อหาและรูปแบบ ในการอ้างอิง สร้างใหม่หรือทำซ้ำ  การซ่อมและอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงเดิมนั้น ทำได้ยากและใช้งบประมาณสูง เนื่องจากต้องอาศัยช่างที่มีความรู้ ฝีมือและทักษะระดับสูง ต้องนำเทคนิคการวาดภาพภาพจิตรกรรมแบบเก่า มาผสานกับวิทยาการสมัยใหม่เข้าไปช่วยรักษาภาพจิตรกรรมให้คงอยู่ เช่น การฉีดกาวลงในชั้นสี การกะเทาะผิวปูน การเสริมชั้นผนังด้วยปูนน้ำอ้อย การผสมสีตามวิธีการเดิม เป็นต้น ต้องทำการศึกษา ขั้นตอนการทำความสะอาดพื้นผิว การเสริมความมั่นคงของภาพกับผนัง ศึกษาวัสดุที่ใช้ ร่วมถึงการศึกษาประวัติของภาพจิตรกรรมเดิม ศึกษาเทคนิคการเขียนและวิธีการเติมภาพ การเติมและปรับสีภาพให้ใกล้เคียงเดิม โดยต้องอ้างอิงหลักฐานเดิมที่มี  เช่นภาพถ่ายหรือการศึกษาจากภาพจิตรกรรมที่มียุคสมัยและเทคนิคการผลิตที่ใกล้เคียง การซ่อมและอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง จะประกอบไปด้วยขั้นตอนการดำเนินงานหลายขั้นตอน ในแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ ประกอบการดำเนินงาน ทำให้อนุรักษ์ต้องใช้งบประมาณ กำลังคนและเวลา เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมอุโบสถวัดภูมินทร์ใช้งบประมาณปี 2564 จำนวน 1,440,000 บาท ระยะเวลาในการดำเนินงาน 240 วัน , การอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดปราสาท ใช้งบประมาณปี 2563 จำนวน 845,000 บาท เป็นต้น

จากปัญหาดังกล่าว ทางผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการนำหลักการถ่ายภาพแบบ Stereo matching  มาใช้ช่วยในการเก็บบันทึกคุณลักษะของภาพจิตรกรรมฝาผนัง ปรับปรุง แก้ไขและผลิตซ้ำภาพจิตรกรรมฝาผนัง เพื่อช่วยบันทึกภาพจิตรกรรมฝาผนังไทยให้อยู่ในรูปดิจิตอล ที่สามารถเก็บบันทึกอัตลักษณ์และคุณลักษณะของภาพ ได้ทั้ง รูปภาพ ลายเส้น สีสัน และพื้นผิวของภาพ  และนำเทคนิคการพิมพ์แบบ 2.5 มิติ มาผลิตซ้ำภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นการพิมพ์รูปภาพที่มีมิติ ตื้นลึก มีพื้นผิว  แสดงถึงอัตลักษณ์ และฝีมือของช่างเขียนรูปได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิม 


คำสำคัญ

  • 2.5D printing
  • Thai mural


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-02-01 ถึง 10:54