ยางคอมโพสิตนำไฟฟ้าสำหรับโครงยางในล้อรถจักรยานยนต์ซ่อมแซมตนเอง


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างยางที่สามารถประสานพื้นผิวด้วยตนเองสำหรับประยุกต์ใช้ในโครงยางในรถจักรยานยนต์ร่วมกับ บริษัท เอ็นดี รับเบอร์ จำกัด แบบ In-kind จากการเตรียมยางโบรโมบิวไทล์ที่แปรด้วยสารเคมีอิมิดาโซ (Butyl imidazole) และของเหลวไอออนิก 2 ชนิด คือ ของเหลวไอออนิกเกรดทางการค้า ชนิด 1-บิวทิว-3-เมทิล-อิมิดาโซเดียม โบรมายด์ (1-butyl-3-methyl-imidazodium bromide) และของเหลวไอออนิกที่เตรียมจากงานวิจัย ชนิด ตัวทำละลายดีฟ ยูเทคติก (Deep eutectic solvent) ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการผสมของชอลีน คลอไรด์ (Choline chloride, ChCl) และยูเรีย (Urea) โดยวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีอิมิดาโซและสัดส่วนระหว่างสารอิมิดาโซและของเหลวไอออนิกที่เหมาะสม ก่อนผสมกับสารตัวเติมนำไฟฟ้า 2 ชนิด คือ ท่อนาโนคาร์บอนและเขม่าดำนำไฟฟ้าและวิเคราะห์ปริมาณของท่อนาโนคาร์บอนและอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างสารตัวเติมทั้ง 2 ชนิด ที่ให้ผลการเกิดการประสานและซ่อมแซมพื้นผิวได้ด้วยตนเอง สมบัติเชิงกล และสมบัติเชิงกลพลวัติได้เหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงนำยางที่ได้มาทดลองกับขึ้นรูปเป็นโครงยางในของล้อรถจักรยายนต์จริงเพื่อวิเคราะห์สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเกิดการประสานตนเองของยางเช่น อุณหภูมิ ระยะเวลา และความดัน ที่กระทำต่อวัสดุ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสมบัติต่างๆ เมื่อนำวัสดุดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่


คำสำคัญ

  • ยางธรรมชาติ หรือ ยางพารา


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-20-12 ถึง 14:35