โครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ภายในของการอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
บ้านคือที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมีความผูกพันกับชีวิตของเราอย่างลึกซึ้ง บ้านเป็นพื้นที่ของการแสดงออกถึงตัวตนของผู้อยู่อาศัย ในอดีตที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ศึกษาพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่เราใช้อยู่อาศัยในลักษณะที่เป็นพื้นที่ในมิติของแนวคิดปรัชญา การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อตอบโจทย์การใช้งาน สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ และความสอดคล้องสังคมวัฒนธรรม จากโครงการวิจัย (1) “Bangkok urban domesticity: How do we live? Research on Bangkok urban domesticity and comparison with the three ASEAN cities” โดย รศ.ดร.ณัฏฐิณี กาญจนาภรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2560, (2) โครงการวิจัย “Future Living Trend” in Research for Design and Development of Common Spaces for Housing Estate and Neigbourhood Mall, Bangkadi District and Krungthep Kritha District โดย รศ.ดร.ณัฏฐิณี กาญจนาภรณ์, ชนิดา ล้ำทวีไพศาล และ ธีร ธนะมั่น ในปี พ.ศ. 2561 และ (3) โครงการบริการวิชาการ “Research on Design Possibilities: Duplex Unit – Floor Plan Prototype” โดย รศ.ดร. ณัฏฐิณี กาญจนาภรณ์, ชนิดา ล้ำทวีไพศาล, ธีร ธนะมั่น และ ณิชมน เดชประเสริฐ ในปี พ.ศ. 2564 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่เน้นที่อยู่อาศัยแนวตั้งในเมือง และการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบในลักษณะของหมู่บ้านจัดสรรบริเวณชานเมืองซึ่งเน้นไปที่การศึกษาพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรรเพื่อการใช้งานร่วมกันของผู้อยู่อาศัย ทำให้โครงการวิจัยนี้เห็นช่องว่างของการวิจัยพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยแนวราบที่เป็น “บ้านที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขาดการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงวิชาการและวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมภายใน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณชน จากข้อมูลงานวิจัยด้านเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (https://www.krungsri.com/th/research/industry, 26 เมษายน 2564) พบว่าบ้านแนวราบมีสัดส่วนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่จะทยอยเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าผู้ประกอบการมีแนวโน้มพัฒนาโครงการเพื่อตอบสนองลูกค้าในรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เช่น การพัฒนาโครงการรูปแบบผสมผสาน (Mixed-use) การพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับกระแสรักสุขภาพ/ คุณภาพชีวิตที่ดี (Wellness residence) และการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged society) การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยพัฒนาบ้านอัจฉริยะ (Smart home) รวมถึงการขายที่อยู่อาศัยในรูปแบบสิทธิการเช่าระยะยาว (Leasehold) นอกจากนั้น การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยในอนาคตตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่จำเป็น นับเป็นการวิจัยแบบบูรณาการที่ครอบคลุมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิถีการอยู่อาศัย การจัดวางพื้นที่ภายในอาคาร เทคโนโลยีในการก่อสร้างบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรร การพัฒนาวัสดุที่ใช้สำหรับการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทำให้ “โครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ภายในของการอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล” เป็นงานวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของความเป็นปัจจุบันและการพัฒนาพื้นที่การอยู่อาศัยในอนาคต ที่เน้นผู้อยู่อาศัยเป็นศูนย์กลางของการวิจัย
โครงการวิจัยนี้ต้องการศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่ภายในของการอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรในบริบทของเมืองและชานเมือง โดยเน้นการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมร่วมกันของอาจารย์ นักวิจัย สถาปนิกและนักออกแบบวิชาชีพ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้สามารถสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่จะทำให้เกิดที่อยู่อาศัยในอนาคตที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ในเมืองและชานเมืองในประเทศไทยที่ดีขึ้น
คำสำคัญ
- Floorplan
- Future Living
- Gated Community
- Housing Estate
- Urban Domesticity