ดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับเก็บรวบรวมองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนวัตกรรมสร้างสรรค์


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้วางแผนที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนและปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) ที่หมายถึง ประเทศไทยสามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

     เพื่อให้ มจธ.พัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ที่ถูก disruptive เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเรียนการสอน (Learning Landscape) และการทำงาน  (Working Landscape) และสามารถส่งเสริมต่อยอดองค์ความรู้ด้านการวิจัย วิเคราะห์และพัฒนาออกแบบนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ จึงควรสร้าง Platform เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในความเชี่ยวชาญด้านต่างๆและสามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงาน ซึ่งองค์ความรู้และกิจกรรมที่ได้จาก Digital Platform for Creative and Innovation Knowledge Sharing (DP-CIKS) นี้จะสามารถต่อยอดให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัยอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรและประเทศชาติต่อไป

     ใน Digital Platform for Creative and Innovation Knowledge Sharing (DP-CIKS) นี้จะเป็นการนำศาสตร์ของ การวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) ประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การออกแบบบริการ (Service Design) การออกแบบนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Creative Innovation) สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) ที่รวมถึงการออกแบบทั้งใน Physical Space และ Digital Space ร่วมกับด้าน Digital Technology เพื่อช่วยในการเลือก technology ที่เหมาะสมในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมคน โดยการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การเห็น Pattern และ Insight ที่ช่วยในการวางกลยุทธ์แนวทางการพัฒนา นวัตกรรมต่อไปในอนาคต

     กลุ่มผู้ใช้งานของงานวิจัยและพัฒนานี้ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทั้งทางด้านออกแบบและเทคโนโลยี โดยกลุ่มนี้สามารถใช้ฐานข้อมูลใน 2 ด้าน ด้าน Input ผลงานวิจัยของนักวิจัยเองหรือกลุ่มวิจัยที่มีโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์เพื่อเผยแพร่และเปิดโอกาสในความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในอนาคต และด้านการ Search หา Partnership หรือทีมที่มีความเชี่ยวชาญด้านที่อยากเติมเต็มให้โครงการที่จะพัฒนาครบรอบด้านในทุกมิติ

2. องค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ หรือชุมชน ที่ต้องการติดต่อหาทีม หรือ Solution ในการพัฒนานวัตกรรม โดยกลุ่มนี้สามารถใช้ฐานข้อมูลใน 2 ด้านเช่นกัน ด้าน Input Innovative Product / Technology Solution ที่พร้อมขยายตลาด เพื่อเปิดโอกาสในการหา Use Case ในการใช้งานในรูปแบบที่เข้ากับ User Lifestyle ในกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง และด้านการ Search หาทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านที่อยากพัฒนาต่อยอดธุรกิจ หรือโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน

3. ผู้ดูแลงานวิจัยใน มจธ. สามารถเห็นภาพรวมของความเชี่ยวชาญของนักวิจัยในด้านต่างๆเพื่อกำหนดนโยบายการสนับสนุน ต่อยอดให้งานวิจัยได้นำไปใช้ประโยชน์จริงสร้างผลกระทบในวงกว้าง


     ดังนั้น Digital Platform นี้ จะสามารถเป็น Platform ที่ใช้ในการเก็บรวบรวม องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยในด้าน Creative and Innovation สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) รวมถึง เทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในอนาคต (Future of Society) และ การสร้างนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ให้สามารถสืบค้น ต่อยอด ประยุกต์ใช้ และหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน ชุมชน ในการทำโครงการที่ต้องการความเชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ เพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศต่อไป


คำสำคัญ

  • Creative Industry Ecosystem
  • Digital Creative Economy
  • Innovation


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05