การออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

โครงการวิจัยการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ 1) การหาประสิทธิภาพในการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) 2) การหาความพึงพอใจจากผู้ใช้งานหุ่นยนต์เก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) 3) การสร้างองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมด้วยหุ่นยนต์เก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถช่วยในการจัดการกับการแพร่กระจายเชื้อโรคของขยะติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถลดการเกิดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสขยะจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การสร้างองค์ความรู้มีส่วนช่วยในการลดจำนวนของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พื้นที่การวิจัย ได้แก่ ในชุมชนบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เป็นอย่างดี คณะนักวิจัยมีประสบการณ์การทำงานบริการวิชาการ และการวิจัยในพื้นที่มีการบูรณาการระหว่างศาสตร์ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาคการศึกษา ภาคสังคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการวิจัยนี้จะเกิดผลผลิตที่เป็นองค์ความรู้ให้กับผู้คนในชุมชนในการจัดการขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19

โครงการวิจัยนี้ยัง ส่งผลกระทบในวงกว้างเพื่อช่วยส่งเสริมในการจัดการและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้คนในชุมชนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างรู้สึกปลอดภัยจากโรคที่กำลังแพร่กระจายเป็นวงกว้างของการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคมเกิดอย่างมีสุขภาพกายและจิตใจอย่างยั่งยืนต่อไป ส่งเสริมสนับสนุนตามนโยบายการทำงานของประเทศในด้าน 1) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการสำคัญให้สามารถตอบโจทย์พัฒนาการของเทคโนโลยีและสังคมยุคใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่นกับห่วงโซ่มูลค่าของภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย 2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ โดยพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ ทั้งทักษะในด้านความรู้ ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม เตรียมพร้อมกำลังคนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิต 3) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศไทยในการรับมือการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ โดยการสร้างความพร้อมในการรับมือกับภัยโรคระบาด รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกทางสถาบันให้เอื้อต่อสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานของภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้อย่างทันการณ์

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่างฉบับที่ 13 แนวโน้ม Maga Trend แก้ไขจุดอ่อน เสริมสร้างความเข้มแข็ง ขับเคลื่อนไทยสู่ความเจริญ ใน 5 เป้าหมายหลัก และ 13 เป้าหมายพัฒนาประเทศไทย ดังนี้

ส่งเสริมมิติภาคการผลิตและการบริการเป้าหมายของประเทศไทย ตามเป้าหมายที่ :

เป้าหมายที่ 2: ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน โดยยกระดับการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวคุณภาพสูง เพิ่มการพึ่งพานักท่องเที่ยวในประเทศและกระจายรายได้สู่พื้นที่ และบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

เป้าหมายที่ 6: ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัล และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน มุ่งเน้นการผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายกฎระเบียบ รวมถึงการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิมสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีผนวกเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้

ส่งเสริมมิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ตามเป้าหมายที่ :

เป้าหมายที่ 8: ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ โดยการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก การสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ และดิจิทัล

ส่งเสริมมิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตามเป้าหมายที่ :

เป้าหมายที่ 10: ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรโดยการใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งการนำขยะหรือวัสดุเหลือใช้กลับมาสร้างมูลค่า รวมถึงการเร่งลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในภาคพลังงานและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

ส่งเสริมมิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมของประเทศไทย ตามเป้าหมายที่ :

เป้าหมายที่ 12: ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยสนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีโอกาสพัฒนาทักษะอย่างเต็มศักยภาพ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับบริบทของโลกยุคใหม่ อาทิ ทักษะดิจิทัล รวมถึงการผลิตกำลังคนให้ตรงความต้องการของภาคการผลิตเป้าหมาย

หมุดหมายที่ 13: ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน โดยยกระดับภาครัฐให้มีสมรรถนะสูงและคล่องตัว สามารถก้าวสู่การเป็นภาครัฐดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการยกเลิกกฎหมายที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

ผลผลิตที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ หุ่นยนต์เก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประโยชน์ของโครงการวิจัยในเชิงวิชาการนั้นทำให้ได้นวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการเก็บขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อลดจำนวนของผู้ติดเชื้อในชุมชนบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้นสามารถนำความรู้การสร้างหุ่นยนต์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวันไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศต่อไปในอนาคต และประโยชน์เชิงนโยบายเป็นการสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น


คำสำคัญ

  • Artificial Intelligence Technology
  • Garbage contaminated with COVID-19
  • The robot
  • ขยะปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19
  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  • หุ่นยนต์


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-20-12 ถึง 14:33