การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อการพัฒนาเกษตรคาร์บอนต่ำของไทย
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน มุ่งเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral & Net zero emission) ในระดับนานาชาติได้มีมาตรการทั้งภาคสมัครใจและบังคับ ในการผลักดันให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางดังกล่าว เช่น การใช้กลไก Nationally Determined Contributions (NDCs) ภายใต้กรอบความตกลงปารีส (Paris Agreement) และ “มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน” หรือ “Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)” ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อนโยบายของประเทศและความสามารถในการแข่งขัน
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบัน ได้มีความตื่นตัวทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินการของภาคเอกชน โดยเฉพาะการส่งสินค้าไปยุโรปในอนาคตอันใกล้ ส่วนในระยะยาว รัฐบาลได้ประกาศจะนำประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน จึงมีความต้องการเร่งด่วนในการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนและภาครัฐในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว
ภาคการเกษตรของไทยเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ ทั้งในแง่ของการที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร และในแง่ของห่วงโซ่การผลิต ที่ภาคการเกษตรเป็นต้นทางและแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้า ผลิตภัณฑ์ พลังงานหรือเชื้อเพลิงชีวภาพต่าง ๆ หากไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรได้แล้ว ย่อมเป็นการยากที่จะลดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ได้ ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในส่วนของขั้นตอนการเพาะปลูกของเกษตรกร
คำสำคัญ
- เกษตรคาร์บอนต่ำ, การปลูกอ้อย, การปลูกข้าว, การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, คาร์บอนฟุตพริ้นท์, Low carbon agriculture, Cane plantation, Rice cultivation, Greenhouse gas mitigation, Carbon footprint
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง