การพัฒนากลุ่มจุลินทรีย์เพื่อเร่งการย่อยสลายสารไกลโฟเสตตกค้างในดินไร่อ้อยของประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
ประเทศไทย มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชได้หลากหลายชนิด แต่ปัญหาหลักของเกษตรกรคือ มีต้นทุนในการผลิตที่สูง ผลผลิตต่ำ การขาดแคลนแหล่งน้ำ และการเสื่อมคุณภาพของดิน อันเนื่องมาจากการเพาะปลูกแบบผิดวิธี การใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรไม่เหมาะสนและเกินความจำเป็น รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้กำหนด 8 ประเด็นนโยบายและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรปี 2563[1] และ 13+1 งานตามนโยบายเกษตรของรัฐบาล[2] เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ให้แก่เกษตรกรไทย โดยเฉพาะประเด็นการส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ และการบริหารจัดการดิน เพื่อการทำเกษตรแบบยั่งยืน ทำให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ โดยคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีความร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เช่นศูนย์การเรียนรู้ Earth Safe อินทรีย์วิถีไทยไร่สุขพ่วง, คุณสุพจน์ ยอดรัก กรรมการสมาคมไร่อ้อยเขต 7, ศูนย์การเรียนรู้ อยู่เย็นเป็นสุข วิถีไทยรามัญ และเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยอินทรีย์ ไร่จอมยุทธ์ จ.สุพรรณบุรี ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไมโครไบโอม สำหรับสำรวจและศึกษาเชิงเปรียบเทียบ microbial community ในไร่อ้อยที่ปลูกแบบใช้และไม่ใช้สารเคมี ตลอดจนค้นหาจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสูงต่อการช่วยฟื้นฟูคุณภาพดิน ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อรองรับการทำเกษตรแบบปลอดภัย ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพและไม่สารพิษตกค้าง
คำสำคัญ
- Biodegradation
- Bioproduct
- Consortia
- glyphosate
- Sugarcane
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง