การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะการทำงานของสมองระหว่างการปฏิสัมพันธ์แบบใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวของมือ (Hand gesture) และอุปกรณ์ควบคุม (Joystick) บนระบบเทคโนโลยีความจริงเสมือน
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2023
คำอธิบายโดยย่อ
เทคโนโลยีความจริงเสมือน หรือ Virtual Reality (VR) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสื่อปฏิสัมพันธ์ที่จูงใจผู้ใช้หรือผู้เรียน เนื่องจากสามารถสร้างสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ได้เสมือนจริง ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และฝึกฝนเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริงในโลกเสมือน และมีความพร้อมในการทำงานจริงต่อไป แต่ผู้ใช้งาน VR มักจะได้พบกับประสบการณ์ที่ไม่เสมือนจริงในการปฏิสัมพันธ์ที่ต้องผ่านอุปกรณ์ควบคุม เช่น Joystick ซึ่งการควบคุมผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ อาจเป็นการเพิ่มภาระการทำงานของสมอง (Cognitive load) และส่งผลให้ความสามารถในการเก็บรักษาข้อมูลและความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลของความจำขณะทำงาน ลดลงได้ อย่างไรก็ตามการควบคุมด้วยท่าทางการเคลื่อนไหว (Gesture) เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และ VR มีความเสมือนจริงมากขึ้น และอาจจะช่วยลดภาระการทำงานของสมองลงได้ เมื่อเทียบกับการควบคุม VR ผ่าน Joystick ดังนั้นโครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะทำการศึกษาและเปรียบเทียบภาระการทำงานของสมองโดยใช้ functional Near Infrared Spectroscopy (fNIRS) ในระหว่างการปฏิสัมพันธ์แบบใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวของมือและอุปกรณ์ควบคุม เช่น Joystick และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทางด้านคุณภาพและระดับความยากง่าย ในการควบคุม VR โดยใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวของมือและอุปกรณ์ควบคุมใน VR นอกจากนี้ ในโครงการวิจัย มีการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลทางด้านการรู้คิดในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อเปรียบเทียบภาระการทำงานของสมองว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำไปการตอบคำถามที่ว่าการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะผ่าน VR สามารถช่วยลดภาระการทำงานของสมองได้เมื่อเทียบกับการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะผ่านทางคอมพิวเตอร์ปกติหรือไม่
การศึกษาและการทดสองในโครงการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเก็บข้อมูลส่วนตัว การทำแบบทดสอบทางด้านความจำในรูปแบบ 2 มิติ การทำแบบทดสอบทางด้านความจำในรูปแบบ 3 มิติโดยใช้อุปกรณ์ควบคุม Joystick การทำแบบทดสอบทางด้านความจำในรูปแบบ 3 มิติโดยใช้ท่าทางการเคลื่อนไหวของมือในการควบคุม และการทำแบบสอบถามด้านประเมินคุณภาพและความยากง่ายในการใช้งาน หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์ผลข้อมูล และสรุปผลข้อมูลที่ได้เพื่อเผยแพร่ทางวารสารวิชาการ พร้อมกับนำเสนอผลการวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ องค์ความรู้ที่ได้จากการโครงการวิจัยจะช่วยส่งเสริมการออกแบบเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์และเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่เหมาะสมกับผู้ใช้หรือผู้เรียน นอกจากนี้ แบบทดสอบทางด้านความจำขณะทำงานสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์เพื่อใช้ตรวจสอบคัดกรองผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ต่อไปในอนาคตได้เช่นกัน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง