การวิจัยพัฒนาระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงและการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2023


คำอธิบายโดยย่อ

เนื่องจากแบตเตอรี่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานไฟฟ้าแหล่งเดียวภายในยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเทคโนโลยีของ แบตเตอรี่ในปัจจุบันยังไม่ถึงจุดที่ทำให้ยานยนต์ไฟฟ้ามีความสามารถในการวิ่งระยะทางต่อการอัดประจุไฟฟ้าต่อครั้งกับระยะเวลาในการเติมเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal combustion engine) รวมถึงจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging station) ที่ยังมีไม่แพร่หลายภายในประเทศ  ดังนั้นความนิยมในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจึงถูกจำกัดเฉพาะกลุ่มที่สนใจเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ถึงแม้ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะได้เปรียบในแง่ของประสิทธิภาพที่สูงกว่ามาก (มาจาก ประสิทธิภาพของวงจรทางไฟฟ้าต่างๆ เช่น DC/DC converter, Inverter ที่มากกว่า 90% และประสิทธิภาพของมอเตอร์ลากจูงที่มากกว่า 80%) กับราคาค่าเชื้อเพลิง (ค่าไฟฟ้า) ที่ต่ำกว่าเมื่อคิดเป็นจำนวนเงินต่อระยะทางวิ่ง (บาท/กิโลเมตร) โดยเปรียบเทียบกับยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณ 40-50% เท่านั้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความสำคัญของการวิจัยพัฒนาระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อช่วยลดข้อจำกัดของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบันดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อเพิ่มระยะทางวิ่งต่อการอัดประจุไฟฟ้าต่อครั้งให้ได้มากที่สุด โดยการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นแผนงานนี้จึงมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนา และสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ใช้อุปกรณ์สวิทช์ชนิด Silicon Carbine (SiC) ทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าวงจรอินเวอร์เตอร์โดยทั่วไปที่ใช้อุปกรณ์สวิทช์ชนิดIsolated Gate Bipolar Transistor (IGBT) ส่งผลให้วงจรอินเวอร์เตอร์โดยรวมสามารถถูกออกแบบให้มีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบาลงได้เป็นผลจากการใช้ส่วนของการระบายความร้อนสำหรับอุปกรณ์สวิทช์เหล่านี้ (เช่น Heatsink) ที่มีขนาดลดลงได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีวงจรอินเวอร์เตอร์ที่ใช้อุปกรณ์สวิทช์ชนิด Silicon Carbine (SiC) ยังสามารถนำมาใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าที่รับพลังงานไฟฟ้าจาก Fuel Cell อีกด้วย รวมถึงแนวทางการศึกษาการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) สนับสนุนการทำงานของระบบควบคุมการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าภายในยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความเชื่อถือได้มากขึ้น เนื่องมาจากในอนาคตบทบาทของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งจะมีความสำคัญและนิยมแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ใช้หรือผู้ให้บริการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า อาทิเช่น ข้อมูลการวัดตัวแปรที่สำคัญ (เช่น กระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าของมอเตอร์ลากจูง) ข้อมูลสถานะการทำงานของวงจรอินเวอร์เตอร์หรือมอเตอร์ลากจูง หรือข้อมูลที่แสดงผลการวิเคราะห์ความผิดพร่องของระบบการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า


คำสำคัญ

  • Energy efficiency
  • Internet of Things (IoT)


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 15:05