ศึกษิต: ระบบนิเวศเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ตลอดชีวิต สู่เศรษฐกิจและสังคมแห่งนวัตกรรม


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ04/04/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ03/04/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม(Innovation Driven Enterprises: IDE) โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและการให้บริการที่สร้างมูลค่าสูง (High Value Services) ให้เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ  (New Growth Engines) อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมใหม่จะมุ่งเน้นไปที่การใช้กำลังของหุ่นยนต์และเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานของบุคลากร ใช้กำลังความคิดและความแม่นยำในการตัดสินใจของคอมพิวเตอร์ (AI) มาสนับสนุนกำลังสมองของมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร แต่ลำพังเพียงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 4.0 นั้น หากปราศจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสร้างและใช้เทคโนโลยีก็ไม่สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถสูงที่จะไปตอบสนองภาคอุตสาหกรรมไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังมีความต้องการบุคลากรแบบใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งในเชิงปริมาณและความสามารถแบบใหม่แบบเร่งด่วนในการเตรียมรับสภาวะของสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการผลการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตไปจนถึงการสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการจำนวนมาก อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การพัฒนากำลังบุคลากรของอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาด้วยกระบวนการเดิมจะไม่สามารถสร้างกำลังบุคลากรออกมาได้ทันและตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระบวนการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาแบบเดิม เน้นให้นักศึกษามีฐานความรู้และทักษะวิชาชีพขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปต่อยอด    แต่ด้วยระยะเวลาที่จำกัด ประกอบกับจำนวนรายวิชาที่หลากหลายสถาบันการศึกษาไม่สามารถสร้างบุคลากรให้มีความสามารถตรงกับที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้ทำงานได้เลยตั้งแต่วันแรก บุคลากรใหม่จึงต้องไปสร้างความเชี่ยวชาญของตัวเองในสายงานที่รับผิดชอบในสถานประกอบการ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ประกอบกับบุคลากรต้องทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบ การเพิ่มขีดความรู้ความสามารถ ในรูปแบบ Re-Learn และ Upskill/Reskill ของตัวเองให้เท่าทันเทคโนโลยี โดยการเรียนรู้ ด้วยตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก สถานประกอบการและตัวบุคลากรจึงต้องการระบบสนับสนุนจากภาครัฐที่ช่วยเพิ่มขีดความรู้ความสามารถให้เป็นปัจจุบันและเท่าทันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างตรงจุดประสงค์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่สำคัญในการพัฒนากำลังคนของประเทศได้ให้การสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ตามโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิรูประบบอุดมศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศ สามารถผลิตบัณฑิตที่เชื่อมโยงกับความต้องการของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางใหม่

ในการนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว ได้ยกระดับการดำเนินการผลิตบัณฑิตและกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไทยเป็นการเร่งด่วน ตามเป้าหมายการเรีนรู้ปัญญาชนอุดมศึกษา 4.0 ของ มจธ. โดยการบูรณาการศาสตร์วิชาการและการปฏิบัติที่ใช้ทักษะขั้นสูงในสาขาวิชาที่ต้องการเร่งด่วน เพื่อสร้างฐานการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งอนาคต โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต และสร้างต้นแบบของหลักสูตรและการเรียนการสอน เน้นการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระ โครงสร้างหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในสภาพจริงเป็นสำคัญ พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและศักยภาพสูง รวมทั้งการร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมในการผลิตบัณฑิต


คำสำคัญ

  • Experiential Learning Platform
  • Innovation learning professional skills
  • Outcome based Education


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-30-06 ถึง 21:09