การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาทางผิวหนังเพื่อรักษาแผลสดในสัตว์เลี้ยงเพื่อสร้างมูลค่าให้สมุนไพรไทย


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ18/03/2022

วันที่สิ้นสุดโครงการ17/03/2023


คำอธิบายโดยย่อ

ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรมและใช้ประโยชน์จากสัตว์ในการทำกสิกรรม ปัจจุบันด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป  เช่น ขนาดครอบครัวที่เล็กลง ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การเลี้ยงสัตว์เพื่อนันทนาการ เช่น เป็นเพื่อช่วยเฝ้าบ้าน เพื่อช่วยเพิ่มพัฒนาการสำหรับเด็กบางวัย เพื่อช่วยผ่อนคลายในเวลาว่าง สัตว์เลี้ยงจึงเข้ามามีบทบาทในครอบครัวมากขึ้นมีครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่นิยมหาสัตว์เลี้ยงมาอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุในบ้าน มีรายงานการวิจัยสนับสนุนว่าสัตว์เลี้ยงมีส่วนทำให้ผู้เลี้ยงมีความสุขมากขึ้น ช่วยลดภาวะความเครียดและซึมเศร้าได้ [1] จึงทำให้ผู้เลี้ยงเองมีความผูกพันและปฏิบัติดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างอบอุ่นไม่แตกต่างสมาชิกในครอบครัว เช่น ตั้งชื่อให้ การดูแลด้านอาหารและสุขภาพอื่น ๆ เห็นได้จากมีผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ทั้งผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร เช่น วิตามิน อาหารเสริม ขนม หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงาม เช่น แชมพู น้ำมันบำรุงขน เสื้อผ้า ที่นอน และของตกแต่ง รวมถึงธุรกิจสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เช่น โรงแรมสัตว์เลี้ยง อาบน้ำตัดขน ทำความสะอาดและสปา แต่อย่างไรก็ตามด้วยสัญชาตญาณสัตว์จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวมีการต่อสู้กันเองจนเกิดบาดแผลหรือบาดแผลที่ได้จากอุบัติเหตุอื่น ๆ ทำให้ผิวหนังเปิดเกิดแผลได้ ถ้าแผลนั้นไม่ลึกมากอาจหายได้เองภายในเวลาไม่ถึงเดือน แต่ถ้าแผลนั้นเกิดการติดเชื้อจะนำมาสู่การเกิดแผลเรื้อรังอาจนำมาสู่การตัดแผลทิ้งและทำให้พิการได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการสมานแผลเพื่อระงับยับยั้งการเกิดแผลที่ลุกลามให้เร็วที่สุด ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตยาสำหรับสัตว์ได้เองเป็นมูลค่ากว่าสี่พันล้านบาทต่อปี แต่ยังจำเป็นต้องนำเข้ายาสำหรับสัตว์เป็นมูลค่ากว่าสามพันเจ็ดร้อยห้าสิบล้านบาทต่อปี (ข้อมูลปี 2561) [2] ซึ่งหากสามารถผลิตยาประเภทนี้ได้เองภายในประเทศจะสามารถช่วยลดงบประมาณที่ต้องใช้ในส่วนนี้เป็นจำนวนมาก

ตำลึง (Coccinia grandis (L.) Voigt) เป็นพืชที่มีสาร phenolic compounds ในปริมาณสูง พบทั่วไปตามธรรมชาติ การปลูกและการดูแลรักษาง่ายสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งอาหารและยา ในตำราแพทย์แผนไทยใช้รักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ลดอาการบวมแดง [3] ทีมผู้วิจัยจึงได้นำความรู้ดังกล่าวมาศึกษาต่อยอด พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสมานแผล และได้เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง  The leaf extract of C. grandis(l.) Voigt accelerated in vitro wound healing by reducing oxidative stress injury ในวารสาร Oxidative Medicine and Cellular Longevity. DOI: 10.1155/2021/3963510 และทีมผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดเป็นเวชภัณฑ์จากสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อลดการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ ยกระดับความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยงในประเทศ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าทางการเกษตร เพื่อสร้างโอกาสในการผลิตเวชภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อการส่งออกในอนาคต​​​​​​​


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-26-06 ถึง 08:24