โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์จาก RDF เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในภาคอุตสาหกรรม


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ05/04/2023

วันที่สิ้นสุดโครงการ04/04/2024


คำอธิบายโดยย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะพลาสติกจากการบริโภคสูงถึง 2.76 ล้านตันต่อปี และส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยวิธีเทกองหรือฝังกลบ ซึ่งนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

ขยะพลาสติกซึ่งมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีค่าความร้อนสูง จึงมีการส่งเสริมให้นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF (Refuse Derived Fuel: RDF) เนื่องจากการนำเชื้อเพลิง RDF มาใช้อาจส่งผลต่อระบบเผาไหม้ สิ่งแวดล้อม และการใช้งานอุปกรณ์เผาไหม้ได้ จึงต้องมีการศึกษา ทดสอบและปรับปรุงระบบ การใช้งานเชื้อเพลิง RDF จึงยังค่อนข้างจำกัดในบางอุตสาหกรรมเท่านั้น ซึ่งหากมีการนำไปใช้กว้างขวางมากขึ้น จะลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ  ขณะเดียวกันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก็จะมีแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกที่ต้นทุนต่ำลงด้วย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยนี้ขึ้น เพื่อศึกษาปัญหาตั้งแต่ต้นทางคือ แหล่งขยะทั้งจากจุดคัดแยกและฝังกลบ การผลิต RDF ให้มีคุณภาพเหมาะสมกับอุตสาหกรรม และการสำรวจศักยภาพการใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างจริงจังตามหลักวิชาการ และทดสอบการใช้งานจริงในกลุ่มตัวอย่าง 3 แห่ง ตรวจวัดประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในด้านการจัดการและด้านเทคโนโลยี ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี

มหาวิทยาลัยฯ เห็นว่าการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการขยะพลาสติกของประเทศและต่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง


คำสำคัญ

  • Refuse Derived Fuel (RDF)
  • การคัดแยกขยะ
  • ขยะ
  • ชีวมวล


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-30-06 ถึง 21:09