การประเมินลักษณะ ขนาดพื้นที่ของถิ่นที่อยู่อาศัย และจัดทำมาตรการและข้อเสนอแนะคุ้มครองป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยของนกไต่ไม้ใหญ่ (Giant Nuthatch, Sitta magna) ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ระดับโลกในประเทศไทยบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/11/2019
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 31/10/2020
คำอธิบายโดยย่อ
นกไต่ไม้ใหญ่ [Giant Nuthatch (Sitta magna)] เป็นนกในวงศ์ Sittidae มีขอบเขตการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ตะวันออกของพม่า และทางตอนเหนือของประเทศไทย และในตอนนี้ถูกจัดอยู่ในสถานะที่ใกล้สูญพันธุ์ระดับโลก โดยมีจำนวนประชากรทั่วโลกประมาณ 2,500 ตัว อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรนี้มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ (~ 1000-2500) เนื่องจากอ้างอิงมาจากการประมาณการมากกว่าการศึกษาเชิงคุณภาพ ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มประชากรของนกไต่ไม้ใหญ่ที่ยังเหลืออยู่เป็นเพียงกลุ่มประชากรขนาดเล็ก (<50 ตัว) และอยู่อย่างกระจัดกระจาย แต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังไม่มีข้อมูลศึกษาที่ชัดเจน ปัญหาหลักของการอนุรักษ์นกชนิดนี้ก็คือการที่เรามีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ของนกชนิดนี้อยู่น้อยมาก รวมทั้งยังไม่มีแผนที่ที่มีคุณภาพสูงที่จะใช้ในการประเมินถิ่นอาศัยที่ยังเหลืออยู่ของนกชนิดนี้ มีเพียงงานในระดับปริญญาเอกของ ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ข้อมูลขนาดประชากร และนิเวศวิทยาของนกไต่ไม้ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยเป็นข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้นเป้าหมายของการศึกษาของโครงการนี้คือ 1) จัดทำมาตรการและข้อเสนอแนะคุ้มครองป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยของนกไต่ไม้ใหญ่ (Giant Nuthatch, Sitta magna) ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ระดับโลกในประเทศไทยบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ 2) แผนที่การกระจายและ Hotspot area บริเวณที่นกไต่ไม้ใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ และ 3) ข้อมูลจำนวน ลักษณะโพรงรัง และตำแหน่งที่พบนกไต่ไม้ใหญ่ บริเวณที่นกไต่ไม้ใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้เราจะทำการสำรวจนกไต่ไม้ใหญ่โดยทีมสำรวจที่มีประสบการณ์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เราจะใช้ภาพถ่ายดาวเทียม SPOT ที่มีความละเอียดปานกลางเพื่อจำแนกลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยของนกไต่ไม้ใหญ่และประเมินขนาดพื้นที่อาศัยจากข้อมูลที่ได้รับการยืนยันแล้ว เราจะทำการประเมินความชุกชมของนกไต่ไม้ใหญ่โดยการใช้ N-mixture models ในพื้นที่สำรวจ และจากข้อมูลที่เราสำรวจได้จะถูกนำไปประเมินประชากรของนกไต่ไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในประเทศไทย
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง