Suitable areas analysis for groundwater bank recharge, monitoring and evaluation of drought solution using groundwater bank in the Northeastern Mekong, Chi and Mun watershed area.
Principal Investigator
Co-Investigators
No matching items found.
Other Team Members
No matching items found.
Project details
Start date: 10/04/2023
End date: 09/04/2024
Abstract
ปัจจุบันการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำได้มีการสร้างแบบจำลองหรือแนวทางในการจัดการที่หลากหลายโดยมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยในสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประโยชน์จากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน โดยการศึกษาคุณภาพน้ำและศึกษา Vegetation Index ซึ่งมีการประยุกต์เทคโนโลยีจากภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อมาวิเคราะห์การให้บริการของดัชนีพืชพรรณ:NDVI ของพื้นที่ที่มีการทำธนาคารน้ำใต้ดินบริเวณลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล รวมไปถึงการศึกษาพื้นที่ความเหมาะสมในการเติมน้ำใต้ดินเพื่อที่จะส่งเสริมการใช้ประโยชน์ เพื่อการติดตามการใช้ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นการศึกษาที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลในปริมาณมากและเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด หรืออาจจะไปถึงระดับภูมิภาคนั้นสามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่าง ๆ ออกมาได้หลากหลายมิติมากขึ้น โดยใช้เวลาที่น้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก ทางคณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นผลประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาการจัดการทรัยากรน้ำทางการเกษตรและผลที่ได้จากการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความน่าเชื่อในระดับที่ยอมรับได้มากขึ้น
งานวิจัยนี้นำไปสู่การทดลองศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและในสถานที่จริงเพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากธนาคารน้ำใต้ดินรวมไปถึงการหาพื้นที่เหมาะสมในการเติมน้ำใต้ดิน โดยมีความสัมพันธ์ของการตอบสนองระหว่างธนาคารน้ำใต้ดินและระบบนิเวศบริเวณที่มีการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำที่หลาหลายวิธี ธนาคารน้ำใต้ดินจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยติดตามผลที่เกิดขึ้นจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิ้นโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัย ซึ่งใช้เป็นเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเข้ามาทำการศึกษา งานวิจัยนี้มีสมมุติฐานว่า การมีอยู่ของธนาคารรน้ำใต้ดินทำให้เพิ่มการบริการของระบบนิเวศ อาทิการเพิ่มความชื้นบริเวณผิวดินในพื้นที่โดยรอบที่ส่งผลต่อพืชพรรณทั้งทางธรรมชาติและด้านการเกษตร การมีอยู่ของธนาคารน้ำใต้ดินทำให้พื้นที่โดยรอบสามารถลดการสูญเสียดัชนีพืชพรรณ ต้นไม้มีอัตราการเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะภัยแล้งที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมีอยู่ของธนาคารน้ำใต้ดิน การมีอยู่ของธนาคารน้ำใต้ดินทำให้พื้นที่โดยรอบสามรถลดการสูญเสียของดัชนีพืชพรรณ มีการขยายพื้นที่ทางการเกษตรเพิ่มขึ้นหรือไม่ การมีอยู่ของธนาคารน้ำใต้ดินสามารถใช้ประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดินได้หรือไม่โดยมีการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ รวมไปถึงการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเติมน้ำใต้ดินเพื่อจะคัดเลือกพื้นที่ในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
สมมุติฐานงานวิจัย นำไปสู่การศึกษาวิจัยเพี่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบผ่านโครงการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบส่งเสริมแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมเกษตรกรและผลผลิตทางการเกษตรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และส่งผลผลักดันงานวิจัยแนวใหม่อย่างบรรลุเป้าหมาย
Keywords
- Sustainable groundwater recharge
- Vegetation Index
- Watershed
Strategic Research Themes
Publications
No matching items found.