การสร้างสมดุลจุลินทรีย์ในดินด้วยนวัตกรรมไมโครไบโอม เพื่อส่งเสริมการ เจริญเติบโตของผักกาดหอมห่อ (Lactuce sativa var. capitata) และลดการใช้ปุ๋ยเคมี


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ04/04/2023

วันที่สิ้นสุดโครงการ03/04/2024


คำอธิบายโดยย่อ

ประเทศไทย มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชได้หลากหลายชนิด แต่ปัญหาหลักของเกษตรกรคือ มีต้นทุนในการผลิตที่สูง ผลผลิตต่ำ การขาดแคลนแหล่งน้ำ และการเสื่อมคุณภาพของดิน อันเนื่องมาจากการเพาะปลูกแบบผิดวิธี การใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรไม่เหมาะสนและเกินความจำเป็น   รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้กำหนด 8 ประเด็นนโยบายและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรปี 2563 และ 13+1 งานตามนโยบายเกษตรของรัฐบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ให้แก่เกษตรกรไทย โดยเฉพาะประเด็นการส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ และการบริหารจัดการดิน เพื่อการทำเกษตรแบบยั่งยืน ทำให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ โดยคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวง มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไมโครไบโอม สำหรับสำรวจและศึกษาเชิงเปรียบเทียบ microbial community ในแปลงปลูกผัดสลัดแบบใช้ปุ๋ยเคมี เปรียบเทียบกับแปลงผักอินทรีย์ จากเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งหลวงและแม่แฮ จ.เชียงใหม่ เพียงค้นหาและคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเพิ่ม soil nutrient ให้แก่ดิน เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบปุ๋ยจุลินทรีย์ผสม (Bio-consortium) ที่มีศักยภาพสูงในการช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผักกาดหอมห่อ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ตลอดจนสามารถช่วยฟื้นฟูคุณภาพดิน ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อรองรับการทำเกษตรแบบปลอดภัย ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพและไม่สารตกค้าง เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการเพิ่มผลผลิตผักอินทรีย์ ตามยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พศ. 2560 - 2579) 


คำสำคัญ

  • จุลินทรีย์ผสม
  • เทคโนโลยีไมโครไบโอม
  • ผักกาดหอมห่อ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-08-07 ถึง 14:10