การพัฒนาแพลตฟอร์มสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการออกแบบระบบปฏิบัติงานในคลังสินค้า


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ16/05/2023

วันที่สิ้นสุดโครงการ15/05/2024


คำอธิบายโดยย่อ

โลจิสติกส์เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลก และในภูมิภาคอาเซียน และหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย คือ การปฏิบัติงานด้านคลังสินค้า เนื่องจาก 95% ของคลังสินค้าทั้งหมด เป็นคลังสินค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Warehouse) ดังนั้นการพัฒนาโซลูชั่นด้านคลังสินค้าอัจฉริยะแบบครบวงจรด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ได้แก่ ดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าปัจจุบัน คลังสินค้าอัตโนมัติแบบครบวงจรสามารถออกแบบได้ด้วยการจำลองสถานการณ์ผ่านซอฟต์แวร์ ARENA หรือ FLEXIM หรือ TECHNOMTIX ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของต่างชาติที่มีราคาและค่าใช้จ่ายสูง กอปรกับยังมีข้อจำกัดของฐานข้อมูลที่มิได้จำเพาะเจาะจงในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับคลังสินค้า ซึ่งส่งผลต่อการแนะนำจำนวนอุปกรณ์ขนถ่าย, จำนวนผู้ปฏิบัติงาน, นโยบายและตำแหน่งจัดเก็บสินค้า, นโยบาย ตำแหน่ง และเส้นทางหยิบสินค้า ที่สอดรับกับรอบเวลาของระบบ ความสามารถสูงสุดของระบบ และสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าที่กลุ่มลูกค้าต้องการ ได้แก่ เวลานำ, ระดับให้บริการ, อรรถประโยชน์ของอุปกรณ์ขนถ่าย โครงการนี้จึงได้นำแนวความคิดในการพัฒนาต้นแบบแบบจำลองสถานการณ์จัดยาเภสัชกรรมอัตโนมัติด้วย What-if Scenarios ผ่าน Microsoft Excel เพื่อแนะนำเทคโนโลยี จำนวน และข้อกำหนดที่เหมาะสมกับสมรรถนะของระบบตามที่โรงพยาบาลตัวอย่าง ร่วมกับการนำแนวความคิดในการพัฒนาโซลูชั่นคลังสินค้าอัจฉริยะบนฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่มีการพัฒนาต้นแบบจำลองสถานการณ์หยิบสินค้าแบบ Wave ด้วย Greedy algorithm เพื่อค้นหาเส้นทางที่ทำให้ระยะทางสั้นที่สุดของสถานประกอบการตัวอย่าง (TRL 4) มาขยายผลและต่อยอดในการพัฒนาแพลตฟอร์มสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการออกแบบระบบปฏิบัติงานในคลังสินค้า โดยเริ่มจากการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เพื่อแปลงข้อมูลในอดีตราย Transaction ให้เป็นข้อมูลสารสนเทศ (Informative Data) ก่อนการจำลองระบบ (Simulation) ที่มีส่วนต่อขยายของการค้นหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยที่สมรรถนะของระบบมากกว่า 1 (Multi-objectives) เป็นไปตามที่กลุ่มลูกค้าต้องการและมีคุณลักษณะในมิติต่างๆ ที่เหนือกว่าซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (TRL 7) อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มฯ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทดสอบกับกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายให้มีความยืดหยุ่นและเสถียรภาพ จนกระทั่งมีความพร้อมก่อนนำแพลตฟอร์มฯ ไปถ่ายทอดและขยายผลไปยังลูกค้า รวมถึงการนำกลุ่มเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมาใช้ในการพัฒนาต้นแบบคลังสินค้าอัจฉริยะแบบครบวงจร เพื่อเก็บรวบรวมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของสินค้าในคลังสินค้าตามเวลาจริงหรือใกล้เคียง และส่งเข้าไปยังแพลตฟอร์มฯ แทนการเก็บบันทึกข้อมูลด้วยแรงงานคน ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมผ่านต้นแบบ IoT จะเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ ช่วยให้กระบวนการทวนสอบความสามารถของแพลตฟอร์มฯ มีความสมบูรณ์ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการนำแพลตฟอร์มฯ ไปใช้ในการปฏิบัติการด้านคลังสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถประมวลผลข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและจำนวนมากพอสำหรับประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


คำสำคัญ

  • Digital platform
  • IoT (Internet of Things)
  • Smart Warehouse


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-31-03 ถึง 10:33