อิทธิพลของการชะล้างกาบมะพร้าวด้วยน้ำที่ส่งผลต่อคุณสมบัติเชื้อเพลิงและเถ้าจากการเผาไหม้ในเตาปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์เบด
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2023
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2024
คำอธิบายโดยย่อ
โครงการวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเผาไหม้ชีวมวลในเตาเผาไหม้แบบฟลูอิไดซ์เบดระดับห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างชีวมวลที่ใช้ คือ กาบมะพร้าว (Coconut husk) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาอิทธิพลของการชะล้างกาบมะพร้าวด้วยน้ำที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (2) ศึกษาการปฏิสัมพันธ์ของธาตุโลหะ/อโลหะในกาบมะพร้าวกับอนุภาคเบดระหว่างการเผาไหม้ในเตาเผาแบบฟลูอิไดซ์เบด การศึกษามีระเบียบวิธีวิจัยดังนี้ (ก) จัดหาและวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของตัวอย่างเชื้อเพลิง (Proximate, ultimate analyses) (ข) ทดสอบการชะล้างโพแทสเซียมและเถ้าของกาบและเปลือกมะพร้าวโดยใช้น้ำ (Water washing pretreatment) (ค) ทดสอบพฤติกรรมการเผาไหม้ในเตาปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์เบดระดับห้องปฏิบัติการ ผลผลิตหลักของการศึกษา คือ องค์ความรู้ของพฤติกรรมการเผาไหม้ตัวอย่างชองชีมวลที่มีปริมาณโพแทสเซียมที่สูง เช่น กาบและเปลือกมะพร้าวที่ผ่านการปรังปรุงคุณภาพโดยการชะล้างด้วยน้ำ สามารถนำองค์ความรู้นี้เป็นต้นแบบและเผยแพร่ในเชิงวิชาการ อันจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่รวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล โดยสามารถขยายผลการศึกษา (A) ในด้านการออกแบบ/พัฒนาระบบการปรับปรุงคุณภาพของชีวมวลโดยการชะล้างด้วยน้ำ และ (B) พัฒนาเป็นแนวทางการศึกษาพฤติกรรมการเผาไหม้กับวัสดุเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ
คำสำคัญ
- Bed agglomeration
- coconut residue
- Fluidized bed combustion
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง