การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่าย (sub node) ปี 2567
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 21/05/2024
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 20/05/2025
คำอธิบายโดยย่อ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ดำเนินการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดการจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง ในปี ๒๕๖๐ วช. ได้ดำเนินโครงการเครือข่ายภูมิภาคด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ร่วมกับเครือข่าย ๔ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) และภาคใต้ (มหาวิทยาลัยหาดใหญ่) ตามขอบเขตบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ และได้ดำเนินโครงการฯ ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา ๕ ปี และในปี ๒๕๖๔ ได้ดำเนินการพัฒนาด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ๔ ระดับ ได้แก่ เครือข่ายภูมิภาค (Network) มหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Node) มหาวิทยาลัยแม่ข่ายขนาดกลาง (M-node) และลูกข่าย (sub node) เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมีผลการดำเนินหลักที่สำคัญของโครงการที่ผ่านมาหลายด้าน ทั้งในด้านการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ การธำรงรักษาด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาบุคลากร มีบุคลากรจากมหาวิทยาลัยลูกข่ายทั่วประเทศได้รับการอบรมด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ และกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ซึ่ง วช. ได้รับผลตอบรับที่ดีจากมหาวิทยาลัยแม่ข่าย ลูกข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
ถึงแม้ วช. จะดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี โดยเฉพาะการกระจายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่เนื่องจากมีจำนวนลูกข่ายจำนวนมากที่อยู่ภายใน
แม่ข่ายทั้ง ๑๒ แม่ข่าย ทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
ของลูกข่าย เช่น การบริหารจัดการงบประมาณของแม่ข่าย จำนวนบุคลากรของแม่ข่าย ความพร้อมของแม่ข่าย การทำหน้าที่พี่เลี้ยงของแม่ข่าย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือของลูกข่ายภายใต้แม่ข่ายเดียวกัน และการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีช่องทางหรือเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างต้นทาง วช. และปลายทาง (หัวหน้าห้องปฏิบัติการ/ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ) เพื่อรับฟังความต้องการนำมาพัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ และเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการมีความต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายฯ
เกิดการพัฒนาและขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น วช. จึงเห็นควรดำเนิน “โครงการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่าย (sub node) ปี ๒๕๖๗”
เพื่อวางแนวทางในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเกิดกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนและยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมทั่วประเทศในอนาคตต่อไป
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง