ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 20/05/2024
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 19/05/2025
คำอธิบายโดยย่อ
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งเพื่อสนับสนุนนโยบายการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CN, Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 ของประเทศไทย ซึ่งการที่ระบบพลังงานและระบบเศรษฐกิจจะสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบคาร์บอนต่ำจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย CN และต่อเนื่องจนถึง Net Zero GHG Emissions ได้ ภายในระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัดนั้น ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของภาครัฐ ธุรกิจ อุตสาหกรรม ชุมชน หรือองค์กรเอกชน ดังนั้นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจึงมีเป้าหมายหลักในการทำงานคือ (1) เพื่อรวมรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของประเทศไทย และสร้างเสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งของภาคีความร่วมมือ (Partnership) ระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยมีความเป็นไปได้มากขึ้นและด้วยความรวดเร็ว (2) เพื่อพัฒนาภาคีความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเสนอประเด็นและแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหา ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้กับบุคลากรในสาขาที่มีบทบาทสูงในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้า ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงานชีวภาพที่ยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน การเกษตรและปศุสัตว์ และนโยบายและการจัดการการเปลี่ยนผ่าน และ (3) เพื่อเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญ ด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในช่วง 1 ปีผ่านมา คณะวิจัยได้ทำการแบบกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตามสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 สาขา ประกอบด้วยสาขา Transformative power systems, Sustainable bioenergy & biorefinery, Energy efficiency in building, industry & transport, circular economy & sustainability, agricultural & livestock และ Transition policy and management และทำการจัดประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 6 กลุ่มเพื่อจัดลำดับความสำคัญรวมถึงกำหนดแนวทางการทำงานในระยะสั้น กลาง และยาวของทั้ง 6 สาขา
จากนั้นได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ดำเนินการ โดยจะประกอบไปด้วย 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีความร่วมมือเชิงสถาบัน (Institutional Partnership) (2) การพัฒนาภาคีความร่วมมือกับสถาบันและบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ เพื่อเป็นแพล็ตฟอร์มการทำงานร่วมกันและการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (3) การพัฒนาภาคีความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐและเอกชน โดยความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ หรือ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของโครงการทั้งหมดสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน/องค์กรให้มากที่สุด (4) การเสนอประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนต่างๆ และ (5) การยกระดับทักษะ/พัฒนาทักษะใหม่ (Upskilling/Reskilling) เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว (Working Professionals) ในสายงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่ต้องเพิ่มพูนความรู้และยกระดับทักษะ (Upskilling) เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลมากขึ้น และเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานที่จะย้ายสายงานหรือเข้าสู่อาชีพใหม่ในสายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะใหม่(Reskilling) ดังแสดงใน Diagram ด้านล่าง
ทั้งนี้เป้าหมายการทำงานของศูนย์ฯ ในกรอบเวลา 5 ปีหลังจากนี้คือการเพิ่มความเข้มแข็งและสร้าง Visibility ให้กับศูนย์ผ่านการจัดเสวนา การจัดอบรม การเผยแพร่เอกสารวิชาการ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ สร้างผลลัพธ์ ผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดจากการทำงานของศูนย์ ทั้งในเรื่องการพัฒนากำลังคน เทคโนโลยี และการแก้ไขปัญหาให้ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความยั่งยืนในการทำงานให้กับศูนย์ผ่านการจัดหลักสูตร การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานจากทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ กิจกรรมที่ศูนย์จะมีการดำเนินการในช่วงปีที่ 2 ประกอบด้วย การเพิ่มชื่อหน่วยงานและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์ให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยขยายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไปยังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ต่างประเทศ และภาคชุมชนสังคมที่เกี่ยวข้องและต้องการรับการสนับสนุนจากศูนย์ การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานของศูนย์ และคณะทำงานของแต่ละสาขาย่อยเพื่อติดตามการดำเนินงาน การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเพื่อระดมสมองแนวทางการจัดกิจกรรมทั้งระยะสั้น กลาง และยาว และการจัดกิจกรรมด้านการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการเผยแพร่ความรู้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง