การใช้พืชยืนต้นบำบัดฝุ่นละอองอย่างยั่งยืน


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2019

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2020


คำอธิบายโดยย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้พืชในการแก้ไขปัญหามลพิษของประเทศที่มีความรุนแรงอย่างฉับพลันซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรและความเป็นอยู่ โดยทำการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการวิจัย (ต้นน้ำ-กลางน้ำ) เกี่ยวกับความสามารถในการบำบัดฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) ของไม้ยืนต้นในประเทศไทย ครอบคลุมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากห้องปฏิบัติการสู่ประชาชน (ปลายน้ำ) เพื่อการรณรงค์ปลูกไม้ยืนต้นริมรั้วในการบำบัดฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน (Sustainability) เพื่อสามารถประยุกต์ใช้ไม้ยืนต้นท้องถิ่นเหล่านั้นในการควบคุมสถานการณ์ฝุ่นที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และยังเป็นการอาศัยคุณสมบัติโดยธรรมชาติของต้นไม้เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังมีการศึกษากลไกเชิงลึกของต้นไม้ต่อการบำบัดฝุ่นขนาดเล็ก ได้แก่ กลไกการบำบัดฝุ่นโดยเข้าทางใบพืช โดยการวัดปริมาณฝุ่นที่พืชสามารถดูดซับเข้าสู่ใบเปรียบเทียบกับปริมาณฝุ่นที่เกาะบนใบ และยังวัดสารต้านอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นในพืชหลังจากกระบวนการบำบัด โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงเพื่อการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นในปัจจุบัน เป็นการผลักดันการนำเทคโนโลยีสีเขียว (green technology) ไปใช้งานจริงให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตาม Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ ร่วมกับการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้แก่ประเทศ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49