การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิต Immunoglobulin Y ที่ต่อต้านเชื้อบิดสำหรับผลิตอาหารไก่ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ยากันบิด
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 10/09/2021
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 09/09/2022
คำอธิบายโดยย่อ
โรคบิดในไก่ (coccidiosis) เป็นโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้เลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก แต่เดิมมีการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ionophores (anticoccidial), bacitracin methylene disalicylate, tylosin phosphate และ virginiamycin ซึ่งมีผลเสีย คือ ทำให้เชื้อบิดเกิดการดื้อยา และเกิดการตกค้างในเนื้อไก่ ซึ่งผู้นำเข้า เช่น ประเทศใน EU ได้มีการห้ามใช้ยากันบิดแล้ว ส่วนอีกวิธีการในการป้องกัน คือ วัคซีน ซึ่งปัจจุบันวัคซีนที่มีจำหน่ายทางการค้า เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น หรือแบบ attenuated มักใช้ได้ผลเมื่อเป็นสายพันธุ์ที่จำเพาะ และยังมีราคาสูง นอกจากนี้ยังไม่สามารถใช้ร่วมกับอาหารไก่สำเร็จรูปที่มียาปฏิชีวนะผสมในสูตรอาหาร เนื่องจากจะส่งผลทำให้วัคซีนสูญเสียประสิทธิภาพ การทำให้ไก่ได้รับการป้องกันเชื้อบิดด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (passive immunity) ได้แก่ การใช้ Immunoglobulin Y (IgY) ที่มีความจำเพาะกับโปรตีนแอนติเจนของเชื้อบิดที่เป็น common antigen และ/หรือโปรตีนแอนติเจนที่อยู่บนผิวของเชื้อบิด เช่น Refractile bodies (RB), Microneme organelle proteins (MICs) ที่จำเป็นในการเคลื่อนที่และการเข้าสู่เซลล์ของเชื้อบิด เป็นต้น โดยผสม IgY นี้ในอาหารไก่ จะช่วยทำให้เชื้อบิดถูก IgY ที่จำเพาะกับโปรตีนบนผิวของเชื้อบิดจับทำให้เชื้อบิดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ และถูกกำจัดโดยกระบวนการของภูมิคุ้มกันของไก่ใน เช่น ถูก phagocytosis ในลำดับต่อไป โดยการใช้ IgY นี้สามารถผสม IgY ที่จำเพาะต่อโปรตีนของเชื้อบิดได้หลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านทานเชื้อบิด
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง