Innovative Device for Latent Fingerprints Development: Criminal Investigation Aspect


Principal Investigator


Co-Investigators

No matching items found.


Other Team Members

No matching items found.


Project details

Start date30/09/2020

End date29/09/2021


Abstract

                    เมื่อนิ้วมือไปสัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น ปลอกกระสุนปืน ปืน และอาวุธต่างๆ สารคัดหลั่งจากต่อมเหงื่อ (eccrine gland) และต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่อยู่บนเส้นนูนของลายนิ้วมือจะติดบนพื้นผิวของวัตถุ โดยส่วนที่เป็นเส้นร่องจะไม่ติดบนพื้นผิวของวัตถุ ดังนั้นเมื่อพิจารณารูปแบบของรอยลายนิ้วมือที่ติดบนพื้นผิวของวัตถุพบว่าส่วนที่เป็นส่วนที่เป็นเส้นร่องคือส่วนที่เป็นพื้นผิวของวัตถุนั่นเอง

                    เนื่องจากองค์ประกอบของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในเหงื่อ เช่น น้ำ เกลือ กรดอะมิโน แคลเซียม แมกนีเซียม และกรดแลคติก เป็นสารที่มีลักษณะใสไม่มีสี ดังนั้นจึงไม่สามารถมองเห็นรอยลายนิ้วมือบนพื้นผิวของวัตถุได้ด้วยตาเปล่าหรือเห็นไม่ชัดเจน คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำหลักการของวิธีการชุบเคลือบโลหะด้วยไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในการตรวจหา LFPs โดยติดตั้งชุดการทดลองที่อยู่ในรูปของเซลล์ไฟฟ้าเคมี ประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้าทำงาน (ขั้วแคโทด) ขั้วไฟฟ้าร่วม (ขั้วแอโนด) และสารละลายอิเล็กโทรไลต์ โดยจะให้ตัวอย่างวัตถุที่เป็นตัวนำซึ่งมี LFPs ติดอยู่ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าทำงาน ส่วนขั้วไฟฟ้าร่วมจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านเท่านั้น โดยไม่มีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยา ดังนั้นจึงเลือกใช้ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย (inert electrode) เช่น แพลทินัม (Pt) แกรไฟต์ (C) เป็นต้น สำหรับโครงการวิจัยนี้จะเลือกใช้แกรไฟต์หรือแท่งคาร์บอน เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแพลทินัม ขั้วไฟฟ้าทั้งสองนี้จะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้า และใช้สารละลาย AgNO3 เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากหาง่าย มีราคาไม่แพง นอกจากนั้นเมื่อ Ag+ รับอิเล็กตรอน จะกลายเป็นโลหะเงิน (Ag0) ที่มีสีเทา ทำให้รอยลายนิ้วมือที่ปรากฎภายหลังจากการชุบด้วยไฟฟ้ามีความชัดเจน

                      ผง AgNO3 เมื่อละลายในน้ำจะแตกตัวเป็น Ag+ และ NO3-  และเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าตรงจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้กับเซลล์ ในสารละลายซึ่งประกอบด้วย Ag+ ในความเข้มข้นที่มากกว่าที่ผิวหน้าของขั้วไฟฟ้าทำงาน (ซึ่งก็คือพยานวัตถุที่ต้องการตรวจหา LFPs) จะเกิดการแพร่ของ Ag+ ไปยังผิวหน้าของขั้วไฟฟ้าทำงานเพื่อไปรับอิเล็กตรอน (รูปที่ 18) โดยที่ Ag+ จะรับอิเล็กตรอนที่บริเวณพื้นผิวของวัตถุ (ที่เป็นตัวนำไฟฟ้า) เท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เกิดจากเส้นร่องนั่นเอง และเมื่อ Ag+ รับอิเล็กตรอน จะกลายเป็นโลหะเงินที่มีสีเทาดำ สำหรับบริเวณที่เส้นนูนกดทับ Ag+ จะไม่สามารถไปรับอิเล็กตรอนที่บริเวณนั้นได้ เนื่องจากที่บริเวณนี้มีสารคัดหลั่งติดอยู่ ซึ่งองค์ประกอบของสารคัดหลั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้า จากปรากฎการณ์นี้เองจึงทำให้เห็นเป็นรอยลายนิ้วมือปรากฎขึ้น


Keywords

  • การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
  • พื้นผิวที่เป็นโลหะ
  • รอยลายนิ้วมือแฝง


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2024-21-02 at 09:25