Conservation management planning of small carnivores in wetlands of southern Thailand for sustainable co-existence between human and wildlife


Principal Investigator


Co-Investigators


Other Team Members

No matching items found.


Project details

Start date01/10/2020

End date30/09/2021


Abstract

ชุดโครงการวิจัยนี้ มีเป้าหมายที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปปรึกษากับหน่วยงานและชุมชนเพื่อวางแผนการจัดการการอนุรักษ์นากและเสือปลาในพื้นที่ที่มีความทับซ้อนกับพื้นที่อาศัยของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั้งทางด้านสัตว์ป่าและภัยคุกคามจากมนุษย์ และนำข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพิ่มเติมร่วมกับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อใช้วางแผนในการจัดแบ่งพื้นที่ (landuse zoning) ต่อไป โดยชุดโครงการนี้ประกอบด้วย 4 โครงการย่อยด้วยกัน โครงการย่อยที่ 1 จะเป็นการประเมินภัยคุกคามต่อการอยู่รอดของนากและเสือปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งภาคใต้ทั้งฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย โดยจะใช้วิธีจัดสัมภาษณ์แบบกลุ่มกับชาวบ้านเพื่อสอบถามถึงรูปแบบและระดับของภัยคุกคามในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาจัดทำแผนที่ระดับภัยคุกคามของภัยคุกคามแต่ละประเภทต่อไป โครงการย่อยที่ 2 จะเป็นการศึกษาผลกระทบจากการใช้ประโยชน์พื้นทีชุ่มน้ำตามแนวชายฝั่งต่อประชากรและพันธุกรรมของนากเล็กเล็บสั้นและนากใหญ่ขนเรียบในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูลซึ่งคาดว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์นากในระยะยาว โดยจะทำการนั่งเรือสำรวจเก็บตัวอย่างกองมูล และใช้เทคนิคทางพันธุศาสตร์ในการวิเคราะห์ตัวอย่างกองมูล เพื่อประเมินขนาดประชากรนาก โครงสร้างประชากรนาก และความสัมพันธ์ระหว่างประชากรนากในแต่ละจังหวัดต่อไป  โครงการย่อยที่ 3 จะเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางพันธุศาสตร์และเทคนิคอณูชีววิทยาเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุแหล่งที่มาของนากและเสือปลาจากการลักลอบค้าและครอบครองเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง โดยการจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมเชิงพื้นที่สำหรับประชากรในธรรมชาติ (ประเทศไทยและอินโดนีเซีย) เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเปรียบเทียบกับข้อมูลพันธุศาสตร์จากนากและเสือปลาของกลางที่ได้จากการจับกุมในประเทศไทย และเพิ่มประสิทธิภาพของการป้องกันและปราบปรามการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โครงการย่อยที่ 4 จะเป็นการประเมินโอกาสในการอยู่รอดของเสือปลาในพื้นที่เขาสามร้อยยอด และสำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าพรุอื่นๆในภาคใต้ของไทยที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นพื้นที่อาศัยของเสือปลาเพิ่มเติม  โดยจะทำการสำรวจด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ 

          ผลลัพธ์จากโครงการย่อยทั้ง 4 โครงการนี้ เมื่อนำมาประยุกต์ร่วมกับข้อมูลพื้นฐานที่มีก่อนหน้านี้ก็จะช่วยให้สามารถระบุพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ที่ต้องการการจัดการเร่งด่วน (Conservation hotspot) รวมทั้งจัดสรรการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมให้กับพื้นที่อื่นๆ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์สัตว์ผู้ล่าขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีการทับซ้อนกับพื้นที่อาศัยของมนุษย์ได้อย่างยั่งยืน  นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากชุดโครงการยังสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกด้วย ทั้งการช่วยให้การควบคุมการค้าสัตว์ผิดกฎหมายระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การช่วยเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นในการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ การมีเครือข่ายนักวิจัยในระดับนานาชาติที่เข้มแข็งและมีความสามารถในการประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ในขณะเดียวกันประเทศชาติก็จะมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยเพื่อประเมินประชากรสัตว์ป่าด้วยสถิติขั้นสูงเพิ่มขึ้นด้วย


Keywords

No matching items found.


Strategic Research Themes


Publications

No matching items found.


Last updated on 2025-14-01 at 09:49