ความหลากหลายของเชื้อจุลินทรีย์จากบริเวณทะเลไทยที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2020
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2021
คำอธิบายโดยย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง "ความหลากหลายของเชื้จุลินทรีย์จากบริเวณทะเลยไทยที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก" คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาขยะ นํ้าเสียจากอุตสาหกรรม มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการพบไมโครพลาสติกสะสมในสัตว์นํ้า เช่น หอยแครงและหอยสองฝาจากบริเวณชายฝั่งตะวันออก ซึ่งเกิดจากการทิ้งพลาสติกลงสู่ธรรมชาติ โดยมีการคาดการณ์ว่ามีปริมาณพลาสติกมากกว่า 8 ล้านตันต่อปี ถูกทิ้งลงทะเล จากงานวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่าการสะสมของไมโครพลาสติกในสัตว์นํ้าและแหล่งนํ้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง รวมทั้งการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญเร่งด่วนในการศึกษาความหลากหลายของเชื้อจุลินทรีย์เพื่อวิเคราะห์กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการย่อยพลาสติกและคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยไมโครพลาสติกได้
โดยมีแนวทางดำเนินการเริ่มการศึกษาเริ่มจากเก็บตัวอย่างนํ้าตะกอน หรือขวดพลาสติก จากทะเลไทย บริเวณที่มีการปนเปื้อนไมโครพลาสติก เช่น บริเวณชายหาดและป่าชายเลนของจังหวัดจันทบุรี วิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของตัวอย่าง เช่น อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่าง จากนั้นนำตัวอย่างไปศึกษาความหลาก
หลายของเชื้อจุลินทรีย์ประเภทโปรคาริโอตและประเภทยูคาริโอตด้วยการวิเคราะห์ไมโครไบโอมที่บริเวณ 16S rRNA และที่บริเวณ 18S / ITS ตามลำดับ และวิเคราะห์ gene pool ที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอนไซม์ย่อยไมโครพลาสติกโดยเทคนิค Metagenomics ในขณะเดียวกันมีการแยกเชื้อจุลินทรีย์จากตัวอย่างโดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ นับจำนวนเชื้อ ทำเชื้อจุลินทรีย์ให้บริสุทธิ์และจัดจำแนกด้วยเทคนิคระดับโมเลกุล นอกจากนี้วิเคราะห์ความสามารถในการย่อยไมโครพลาสติก โดยวัดอัตราการลดลงของไมโครพลาสติกในหลอดทดลอง
ซึ่งโจทย์วิจัยนี้จะตรงกับยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในหัวข้อ Sustainable energy and agriculture และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ข้อ 5 สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ได้รับจากงานวิจัยสามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานเชิงวิชาการของกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยร่วมกับไมโครพลาสติก เพื่อคาดการณ์อันตกริยาระหว่างเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิธีการกำจัดพลาสติก เช่น เชื้อจุลินทรีย์ย่อยพลาสติก (Bioremediation) หรือ เอนไซม์ย่อยพลาสติก ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวจะนำมาสู่การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสมดุล
คำสำคัญ
- Microbial diversity
- Microbial plastic degradation
- Microplastics
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง