การพัฒนาอุปกรณ์ฆ่าเชื้อทางการแพทย์จากยางพาราผสมโลหะออกไซด์


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2020

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2021


คำอธิบายโดยย่อ

  • /หรือยางสังเคราะห์และเส้นใยผ้าเป็นองค์ประกอบหลัก โดยจัดเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้งานภายในบริเวณที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ อาทิ ถุงมือ รองเท้า หน้ากากหายใจ และชุดผ้ากาวน์ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายเนื่องจากไม่สามารถทำลายการเกาะติดของเชื้อโรคได้ทั้งจากการสัมผัสโดยตรงและที่กระจายในชั้นบรรยากาศ และอุปกรณ์ดังกล่าวอาจมีขนาดรูพรุนที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วย ดังนั้น การคิดค้นวัสดุเสริมที่มีคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของเชื้อโรคได้ดี และสามารถกำจัดเชื้อโรคได้นั้น จึงเป็นเทคโนโลยีที่มีความต้องการมากยิ่งขึ้น ด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงได้นำยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ และมีสมบัติเด่นหลากหลายประการ เช่น ความยืดหยุ่นสูง ไม่ชอบน้ำ ฉนวนไฟฟ้า และทำหน้าที่เป็นวัสดุประสานได้ดี มาประยุกต์ด้วยการผสมกับโลหะออกไซด์ที่เป็นมิตรต่อร่างกาย ได้แก่ ออกไซด์ของสังกะสี และออกไซด์ของไทเทเนียม จากการเตรียมเป็นวัสดุยางพาราคอมโพสิตเพื่อผลิตและ/หรือเคลือบบนวัสดุทางการแพทย์ต่างๆที่มีองค์ประกอบพื้นฐานจากยางและผ้าชนิดต่างๆ โดยเปรียบเทียบในลักษณะของยางแผ่น โฟมน้ำยาง และโฟมยางที่ผสมสารก่อโฟม เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคชนิดต่างๆ ควบคู่กับสมบัติเชิงกล เชิงกลพลวัติ ความแข็ง และพื้นผิวสัมผัสของวัสดุคอมโพสิตที่ได้ โดยออกไซด์ของสังกะสีจะทำปฏิกิริยากับแสงแดดและความชื้น และปลดปล่อยสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรค และในลักษณะคล้ายกัน ออกไซด์ของไทเทเนียมจะถูกกระตุ้นด้วยแสงยูวีจากแสงแดดและดูดซับสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายต่างๆได้ ทำให้ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสโดยตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-10-01 ถึง 13:14