การศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานิน และการวิเคราะห์ลำดับเบสและสังเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสที่ส่งผลต่อการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันด้วยทรานสคริปโตมในกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก


หัวหน้าโครงการ


ผู้ร่วมโครงการ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกทีมคนอื่น ๆ


รายละเอียดโครงการ

วันที่เริ่มโครงการ01/10/2020

วันที่สิ้นสุดโครงการ30/09/2021


คำอธิบายโดยย่อ

ชุดโครงการวิจัย “การศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานิน และการวิเคราะห์ลำดับเบสและสังเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสที่ส่งผลต่อการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันด้วยทรานสคริปโตมในกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก” ประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวน 2 โครงการคือ

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก   และ

โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนแปลงในจีโนมของกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอกด้วยวิธีวิเคราะห์ทรานสคริปโตม

เป็นโครงการที่ยื่นเสนอขอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กลุ่ม Basic Research Fund ปีงบประมาณ 2564  ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี  โดย ผศ.ดร. มัณฑนา  บัวหนอง เป็นหัวหนาโครงการ  และผู้ร่วมวิจัยคือ รศ.ดร. เฉลิมชัย  วงษ์อารี และนางสาวสุดารัตน์  ขุนเมือง  หน่วยงานรับผิดชอบหลักคือสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว  คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เพื่อที่จะเข้าใจถึงสาเหตุและกลไกความผิดปกติทางสรีรวิทยาของกลีบดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ โดยสีของกลีบดอกจะซีดขาวลงอย่างรวดเร็วการเมื่อได้รับเอทิลีนในเชิงลึกได้อย่างบูรณา  การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอก  รวมไปถึงศึกษาแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนแปลงในจีโนมของกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’  ด้วยวิธีวิเคราะห์ทรานสคริปโตม  แล้วจึงนําข้อมูลของชีวโมเลกุลทุกชนิดมาแปรผลร่วมกันตามแนวทางวิจัยเชิงระบบ และสังเคราะห์ผลร่วมกันกับบริษัท QTLomics Technologies Pvt. Ltd จากประเทศอินเดียในด้านการทำทรานสคริปโตมและการวิเคราะห์ผล    ทั้งนี้งานวิจัยนี้ยังได้รับความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญจาก Agricultural Research Organization (ARO), The Volcani Center ประเทศอิสราเอล คือ Dr. Shimon Meir และ Dr. Sonia Philosoph-Hadas  ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าในสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ตัดดอก

ผลผลิตจากงานวิจัยนี้จะเป็นบทความวิจัยทางวิชาการระดับนานาชาติ (Quartile 1/2) จำนวน 1 เรื่อง  และองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ในเชิงลึกในเรื่องการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าพันธุ์ ‘Sansai Blue’ หลังจากได้รับเอทิลีนจากภายนอกจะสามารถนำมาสานต่ออย่างยั่งยืนในเชิงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว   และสามารถจัดฝึกอบรมให้กับบริษัทและผู้ประกอบการส่งกล้วยไม้ออกต่างประเทศ  ให้เข้าใจและป้องกันการซีดจางของกลีบดอกกล้วยไม้แวนด้าหลังการเก็บเกี่ยว  ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของดอกหลังการเก็บเกี่ยว และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก


  1. หลักการและเหตุผล (แสดงถึงบริบทของพื้นที่และระบุที่ไปที่มาของปัญหาและความต้องการของพื้นที่ (Situation Review) และอธิบายความจำเป็นและความสำคัญที่โครงการวิจัยจะเข้าไปแก้ไขปัญหาสำคัญ/พัฒนาศักยภาพที่สำคัญ และระบุคำถามงานวิจัยของโครงการวิจัย)

โครงการวิจัยนี้เป็นการทดลองและพัฒนาต่อยอดงานวิจัยในเชิงลึกเพื่อเข้าใจถึงกลไกการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่ถูกชักนําโดยเอทิลีนจากภายนอกในระดับชีวโมเลกุลด้วยการศึกษาการแสดงออกของยีนทีเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในกลีบดอก รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีโอมิกส์ (omics methodologies) ซึ่งกําลังเข้ามามีบทบาทสําคัญในการเปลี่ยนแปลงการทําวิจัยในด้านต่าง ๆ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดที่ถูกลง และมีประสิทธิภาพในการวัดที่สูงขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนํามาใช้ในการตรวจวัดระดับการทํางานหรือปริมาณของชีวโมเลกุลเป็นจํานวนมากแบบพร้อมๆกัน (multiplexing) อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบความแตกต่างของหลายตัวอย่างทดลองในระยะเวลาอันสั้น (high throughput) ทรานสคริปโตมิกส์ (transcriptomics) จึงถูกนํามาใช้สําหรับวัดความแตกต่างของปริมาณ messenger RNA และเมื่อมีการนําข้อมูลของชีวโมเลกุลทุกชนิดมาแปรผลร่วมกันตามแนวทางวิจัยเชิงระบบก็จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลคุณภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับระบบชีวภาพ และเข้าใจถึงกลไกและสาเหตุการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้ที่ถูกชักนําโดยเอทิลีนจากภายนอกในเชิงลึกได้อย่างบูรณาการเพื่อหาแนวทางในการชะลอ หรือ ป้องกันการเสื่อมสภาพของดอกกล้วยไม้ในขั้นตอนต่อไป


คำสำคัญ

  • vanda orchid


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


ผลงานตีพิมพ์


อัพเดทล่าสุด 2025-14-01 ถึง 09:49