การพัฒนาวัสดุฝังในที่ใช้สำหรับเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มด้วยการบรรจุยาปฏิชีวนะคู่เพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 01/10/2020
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 30/09/2021
คำอธิบายโดยย่อ
ในปัจจุบัน มีความต้องการวัสดุฝังในสำหรับเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการแพทย์ทั้งเพื่อการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง การรักษาบาดแผลของเนื้อเยื่อ รวมถึงศัลยศาสตร์ความงาม ไฮโดรเจลเป็นวัสดุชีวภาพชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นเครือข่ายสามมิติ มีสมบัติทางกลที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ให้มีความคล้ายคลึงกับเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และยังมีความสามารถในการกักเก็บสารโมเลกุลขนาดเล็กไว้ภายในได้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและทางเคมีขององค์ประกอบ ไฮโดรเจลได้ถูกนำไปใช้ในทางการแพทย์ที่หลากหลาย อาทิ วัสดุทดแทนเนื้อเยื่อ ชั้นเคลือบผิวอุปกรณ์การแพทย์ และวัสดุปิดแผล การนำไฮโดรเจลไปใช้ทางการแพทย์โดยส่วนใหญ่จะต้องมีการฝังเข้าไปในร่างกายหรือสัมผัสกับเนื้อเยื่อที่มีสภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่ไม่ได้เกิดจากโรคที่กำลังทำการรักษาแต่มักเกิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลคือการติดเชื้อในโรงพยาบาลจากการใส่อุปกรณ์ฝังใน ดังนั้น การทำให้ไฮโดรเจลสามารถกักเก็บยาปฏิชีวนะและค่อย ๆ ปลดปล่อยออกมาในตำแหน่งที่ใช้งานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดปริมาณการให้ยา และลดการดื้อยา และเนื่องจากโดยปกติแล้ว จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ การให้ยาปฏิชีวนะพร้อม ๆ กันอย่างน้อยสองชนิดหรือยาปฎิชีวนะคู่ที่เสริมกันจะทำให้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้โดยใช้กลไกที่หลากหลายและทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้น โครงการวิจัยนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาคอมโพสิทไฮโดรเจลที่สามารถปลดปล่อยยาปฏิชีวนะสองชนิดที่เสริมฤทธิ์กันได้ในคราวเดียว โดยอาศัยลักษณะทางกายภาพของไฮโดรเจลเป็นหลัก พร้อมทั้งศึกษาการปลดปล่อยยา ณ เวลาต่าง ๆ จากการตรวจวัดปริมาณยาด้วยเทคนิคสเปคโตรโฟโตเมทรีและเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า
คำสำคัญ
- Antibacterial activities
- Composite biomaterials
- Controlled dual drug release
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง